เทคนิคเติมความคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียน
เทคนิคเติมความคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียน
ผู้เขียน: อัญญานุช บำรุง
ที่มาบทความ วารสารวิทยาจารย์ ปีที่ 121 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2565, หน้า 68-71.
----------------------------------
การส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในชั้นเรียน
คุณครูทุกท่านสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมที่สร้างสรรค์
ช่วยให้เด็กนักเรียนพัฒนาศักยภาพของตนเองได้
ผลวิจัยชี้ว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในทุก ๆ ช่วงวัยเกิดจากการเรียนรู้ผ่านการเล่น คุณครูและอาจารย์ทุกท่านมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาวิธีการคิด บุคลิกภาพและทัศนคติ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเรื่องใหม่ ๆ หรือการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ตาม ถึงแม้ว่าจะดูเป็นงานที่ท้าทายสำหรับคุณครูและอาจารย์ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทักษะนี้จะเป็นการเปิดประตูสู่โลกในใหม่แก่เด็ก ๆ ทุกคน
กิจกรรมที่สามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ มีหลายแบบ ตั้งแต่การเล่น การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง พูดคุยกับเพื่อน ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เด็ก ๆ จะสังเกตพฤติกรรมของคนรอบข้างตนเองไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน หรือคนอื่นรอบตัว และเลียนแบบพฤติกรรมไปโดยไม่รู้ตัว ถ้าหากสิ่งรอบ ๆ ตัวของเด็กมีสภาพที่ไม่เหมาะสมแล้วนั้น อาจส่งผลให้เกิดผลเสียต่อเด็กได้
โดยความสามารถของเด็กสามารถพัฒนาได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
และนี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าว ๆ ให้คุณครูและอาจารย์ทุกท่านลองนำไปปรับใช้ในชั้นเรียน เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่าต้องขยันจัดกิจกรรมสร้างสรรค์หลาย ๆ แบบให้กับนักเรียน สรรหาเทคนิคการสอนใหม่ ๆ ซึ่งอาจรวมถึงการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ เช่น เปิด Youtube ให้ดูหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ มาเล่าให้เด็ก ๆ ฟังจากประสบการณ์จริง หรืออาจจัดกิจกรรมไปทัศนศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเปิดโลกกว้างให้กับเด็ก ๆ แล้วอย่าลืมเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ นะคะ
1. ปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น อายุ เพศ และการพัฒนาของร่างกาย
2. ปัจจัยทางสังคม เช่น สภาพแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ ระบบการเรียนการสอนของโรงเรียน
นอกจากนี้ Dalcroze, Orff และ Kodaly นักดนตรีและอาจารย์ชื่อดัง ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างคุณครูและนักเรียนในการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยได้เสนอแนวทางที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียน ดังต่อไปนี้
1. ควรตั้งเป้าหมายในการเรียนการสอนว่า พวกเราจะคิดแต่สิ่งใหม่ หรือสิ่งที่สร้างสรรค์เท่านั้น โดยการเตรียมการเรียนการสอนให้ไม่น่าเบื่อ มีความเสนอสิ่งใหม่ให้กับนักเรียนได้เห็นและคิดตาม
2. เว้นพื้นที่ไว้ให้เด็กนักเรียนได้คิดเอง เช่น ระหว่างการเรียนการสอน อาจเว้นระยะเวลาหนึ่งหรือจัดโต๊ะพิเศษให้นักเรียนมานั่งคุยกัน หรือมาเสนอไอเดียของตนเองให้เพื่อน ๆ และคุณครูฟัง หรืออาจกำหนดหัวข้อให้นักเรียนคิดบทละครหรือวาดรูปศิลปะตามใจชอบ เพื่อไม่ให้มีกรอบมาปิดกั้นความคิดของเด็ก ๆ และส่งเสริมให้ใช้จินตนาการอย่างสร้างสรรค์
3. พยายามหากิจกรรมพิเศษที่จัดโดยองค์กรภายนอกโรงเรียน หรือโปรแกรมพิเศษในการพัฒนาทักษะความสามารถของนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้พบปะกับเด็กคนอื่น ๆ และเรียนรู้ที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน
4. พยายามดึงความสนในของเด็ก ๆ ให้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ร่วมกัน ในการวิจัยพบว่า สิ่งสำคัญในการดึงศักยภาพที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ออกมาคือการทำให้ทุกคนมีความรู้สึกนึกถึงกัน มีอารมณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น อาจชวนเด็ก ๆ ให้คิดเรื่องการพัฒนาชุมชนของตนเอง อาจทำให้เด็ก ๆ มีความรู้สึกว่าอยากจะทำด้วยกันให้สิ่งดี เกิดขึ้นในพื้นที่ที่อยู่ร่วมกัน
5. เมื่อต้องแก้ไขปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ อาจลองปรับใช้กรอบความคิดการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นสากล เช่น กระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามวิธีการของออสบอร์นและพาร์น ซึ่งกล่าวไว้ว่าการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์แบ่งเป็น 6 ขั้น ได้แก่
5.1 การค้นหาจุดประสงค์ (Objective Finding) พิจารณาว่าจุดประสงค์ในการแก้ไขปัญหาว่าคืออะไร5.2 การค้นหาความจริง (Fact Finding) เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเข้าใจปัญหาให้ถูกต้อง5.3 การค้นหาปัญหา (Problem Finding) พิจารณาสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา เพื่อค้นหาวิธีแก้ต่อไป5.4 การค้นหาความคิด (Idea Finding) ระดมความคิดเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาตามประเด็นที่ตั้งไว้ให้ได้มากที่สุดอย่างไม่มีผิดถูก5.5 การค้นหาคำตอบ (Solution Finding) พิจารณาเลือกวิธีแก้ไขปัญหาจากการค้นหาความคิดที่คิดว่าดีที่สุด5.6 การค้นหาคำตอบที่เป็นที่ยอมรับ (Action Finding) นำขั้นตอนที่เลือกใช้แก้ผัญหาไปพิสูจน์ว่าใช้ได้จริง
6. ถ้าหากระหว่างมีการแสดงความคิดเห็นระหว่างเด็กนักเรียน และมีการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของการพูดคุน คุณครูอาจลองจดประเด็นการพูดคุยไว้คุยกับนักเรียนต่อในภายหลัง
7. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าพวกเขาสามารถคิดและพูดในสิ่งที่พวกเขาคิดออกมาได้โดยไม่มีถูกหรือผิด เด็ก ๆ ควรรู้สึกปลอดภัยถ้าหากพวกเขาจะพูดในสิ่งที่อาจไม่เคยมีใครพูดมาก่อน และส่งเสริมให้เด็ก ๆ แสเงความคิดเห็นบ่อยๆ
8. แสดงให้นักเรียนเห็นเป็นตัวอย่างว่าคุณครูเองก็มีความคิดสร้างสรรค์เช่นกัน เพื่อให้เด็ก ๆ เลียนแบบพฤติกรรม
NOTE: มีผลวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริก
ผลสำรวจนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ม.6 ที่มีการเรียนการสอนแบบเน้นความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 1,000 คน พบว่า 66% ทำให้เด็ก ๆ กล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงความเป็นตัวเองออกมา 61% ช่วยให้เด็กกล้าคิดอะไรใหม่ ๆ 54% ลดความเครียดในชั้นเรียน และ 39% ช่วยให้เกิดความจำที่ดีขึ้น
--------------------------------
--------------------------------
อ้างอิง
- Canva Team. (2020, September 16). The important of fostering creativity in the classroom. Retrieved June 10, 2021, from Medium: https://medium.com/canva/the-importance-of-fostering-creativity-in-the-classroom-34c94b99281d.
- Espy, L. (2019, July 30). The Osborn Parnes Creative Problem-Solving Process. Retrieved June 10, 2021, from Project Bliss: https://projectbliss.net/osborn-parnes-creative-problem-solving-process/.
- Wolska-Dugosz, M. (2015). Stimulating the development of creativity and passion in children and teenagers in family and school environment - inhibitors and opportunities to overcome them. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2905-2911.
- http://dzieciecybazar.blogspot.com/