หอสมุดคุรุสภา แนะนำ 20 คลังสารสนเทศ “งานวิจัย/วิทยานิพนธ์” [ONLINE]
20 คลังสารสนเทศ “งานวิจัย/วิทยานิพนธ์” [ONLINE]
--------------------------------------------------
หอสมุดคุรุสภา ขอแนะนำ “20 คลังสารสนเทศที่รวบรวมงานวิจัยและวิทยานิพนธ์” อันเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเปิดใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำกัดสถานที่ เวลา และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ดังนี้
1. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (TDC หรือ Thai Digital Collection)
คลิกลิ้งค์ >>> https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (Thai Library Integrated System: ThaiLIS) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสืบค้นและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (Thai Library Network – Metropolitan: Thailinet) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network: Pulinet) และทบวงมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการฯ
2. คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (Chulalongkorn University Intellectual Repository: CUIR)
คลิกลิ้งค์ >>> https://cuir.car.chula.ac.th/
คลังจัดเก็บ ให้บริการ และเผยแพร่สารสนเทศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และหน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างผลงานทางวิชาการ จัดทำโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการฟรีโดยไม่ต้องลงทะเบียนผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป DSpace อนุญาตให้ใช้เอกสารฉบับเต็ม (Full Text) ในคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR) เพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ และต้องอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง
3. คลังข้อมูลดิจิทัลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Digital Collections)
คลิกลิ้งค์ >>> https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/
คลังข้อมูลดิจิทัลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโดยหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้บริการดาวน์โหลดบทคัดย่อและเอกสารฉบับเต็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเป็นเอกสาร เพื่อการศึกษาความรู้และวิจัย โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า และห้ามไม่ให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้งาน ซึ่งเปิดให้บริกรแก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้ใช้บริการทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
4. คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Repository: SURE)
คลิกลิ้งค์ >>> http://www.sure.su.ac.th/xmlui/
คลังจัดเก็บและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งผลงานทางศิลปะของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากรในรูปแบบดิจิทัล เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้บริการแก่ผู้ใช้จากภายในมหาวิทยาลัยรวมถึงจากภายนอกทั้งระดับชาติและนานาชาติสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลงานเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย โดยมีกระบวนการจัดการสารสนเทศดิจิทัล ตั้งแต่การจัดการข้อมูล การเข้าถึงและการใช้ข้อมูล การเผยแพร่ และการสงวนรักษาตามแผนการสงวนรักษาวัตถุดิจิทัล
5. คลังความรู้ดิจิทัลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Knowledge Repository)
คลิกลิ้งค์ >>> https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr
คลังข้อมูลจัดเก็บและรวบรวมผลงานสร้างสรรค์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในรูปแบบดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ทั้งประเภทผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ หนังสือ ตำรา เอกสารคำสอน บทความ และผลงานสร้างสรรค์ทุกประเภท ไม่จำกัดปีพิมพ์ ที่ได้รับการอนุญาตสิทธิ์ในการเผยแพร่จากเจ้าของผลงาน สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อเผยแพร่ความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม และผลงานถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดความรู้และได้รับการอ้างอิงทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
6. ฐานข้อมูลวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร (NU Intellectual Repository)
คลิกลิ้งค์ >>> http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/
คลิกลิ้งค์ ระบบสืบค้นวิทยานิพนธ์ >>> http://www.lib.nu.ac.th/m/thesis/
ฐานข้อมูลรวบรวมงานวิจัย ผลงานวิชาการของบุคลากร วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปริญญานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดทำโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมกันนี้สำนักหอสมุดฯ ได้เปิดให้บริการ “ระบบสืบค้นวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมหาวิทยาลัยนเรศวร” ควบคู่กัน โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นวิทยานิพนธ์ผ่านระบบนี้เชื่อมโยงไปยังไฟล์เอกสารวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เข้าใช้ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน และไม่จำกัดสถานที่และเวลาการสืบค้น
7. คลังสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Chiang Mai University Digital Collections - CMUDC)
คลิกลิ้งค์ >>> https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/
คลังจัดเก็บและเผยแพร่สารสนเทศดิจิทัลที่มีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสามารถเข้าถึงได้จากแหล่งเดียว พร้อมมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศประเภทจดหมายเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้บริการสารสนเทศ สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย และการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และประเทศชาติโดยรวม
8. คลังสถาบันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Srinakharinwirot University Institutional Repository - SWU IR)
คลิกลิ้งค์ >>> http://ir.swu.ac.th/jspui/
คลังสารสนเทศ สำหรับจัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลในลักษณะแบบศูนย์รวม กลายเป็นคลังทรัพยากรสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บรักษาทรัพยากรที่สำคัญของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่ ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ บุคลากร นิสิต ปริญญานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานการวิจัย เอกสารประชุม/สัมมนา และเอกสารที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้ โดยเปิดให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ได้
9. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU Knowledge Bank)
คลิกลิ้งค์ >>> https://kb.psu.ac.th/psukb/
คลังสารสนเทศที่สงวนรักษาผลงานและองค์ความรู้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีพ จัดเก็บและรวบรวมผลงานและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แก่ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความ วิจัย ตำราคู่มือการปฏิบัติงาน รวมถึงผลงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้รับการอนุญาตสิทธิ์ให้เผยแพร่จากเจ้าของผลงานในรูปแบบดิจิทัลตามมาตรฐานสากล สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเผยแพร่ผลงานให้ผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดความรู้และผลงานได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง
10. คลังข้อมูลเอกสารงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SRU Intellectual Repository)
คลิกลิ้งค์ >>> http://www.ir.sru.ac.th/
ฐานข้อมูลคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย ที่รวบรวมงานในสาขาต่างๆ และบทความวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลและเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารทางวิชาการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน พัฒนาโดยหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
11. คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
คลิกลิ้งค์ >>> http://repository.li.mahidol.ac.th
คลังสารสนเทศรวบรวมและจัดเก็บงานวิจัย ผลงานวิชาการและสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลทุกคณะ/สถาบันจำนวน มากกว่า 39 หน่วยงาน ในรูปแบบสื่อดิจิทัล โดยแสดงผลข้อมูลในรูปแบบของบรรณานุกรม สาระสังเขป และข้อมูลฉบับเต็ม เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยได้ โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
12. คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar)
คลิกลิ้งค์ >>> https://scholar.utcc.ac.th/
คลังรวบรวมรายชื่อนักวิจัยและผลงานวิจัย ซึ่งเป็นผลผลิตของประชาคมมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยจัดเก็บครอบคลุม บทความวิชาการ โครงการวิจัย รายงานการวิจัย ผลงานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ และวิทยานิพนธ์
13. คลังข้อมูลของสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม (Knowledge Bank at Sripatum University)
คลิกลิ้งค์ >>> http://dspace.spu.ac.th/
คลังจัดเก็บและเผยแพร่ความรู้ของคณะ/สถาบัน ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม เชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในฐานข้อมูลเดียวกัน พร้อมได้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ใช้บริการอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
14. วิทยานิพนธ์ มธบ. อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses)
คลิกลิ้งค์ >>> https://lib.dpu.ac.th/page.php-id=6488.html
ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด Learning Center and Library มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รวบรวมรายชื่อวิทยานิพนธ์, สารนิพนธ์, ภาคนิพนธ์ และงานค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยแยกตามหลักสูตร ให้ข้อมูลฉบับเต็ม (Full Text) ข้อมูลที่เริ่มจัดเก็บและเผยแพร่เป็นข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการอนุญาตจากนักศึกษาให้เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
15. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Intellectual Repository)
คลิกลิ้งค์ >>> https://repository.rmutp.ac.th/
คลังจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศ ซึ่งจะรวมทั้งผลงานวิจัย วิชาการ ของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบัณฑิตศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มุ่งหวังให้ทรัพยากรสารสนเทศเที่จัดเก็บในรูปดิจิทัลเหล่านี้ เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า วิจัย เพิ่มเติมต่อยอด ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในระดับนานาชาติ
16. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology Intellectual Repository - SUTIR)
คลิกลิ้งค์ >>> http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/
คลังรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศ ซึ่งมาจากความรู้ความสามารถของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งได้สร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปเผยแพร่ เพื่อใช้สำหรับสนับสนุนการศึกษา การค้นคว้า วิจัยและเพื่อให้นักวิจัยหรือผู้สนใจทั่วไป สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันอย่างยั่งยืน อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษา สำหรับการพัฒนาประเทศเท่านั้น และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของผลงานและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทุกครั้ง โดยห้ามมิให้นำผลงานเหล่านี้ไปใช้แสวงหาประโยชน์ทางด้านการค้า หรืออื่นใด นอกเหนือจากที่กล่าวในข้างต้น
17. ระบบค้นหางานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (Suan Dusit E-Research)
ระบบสืบค้นและเรียกดูงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full-Text) ทั้งแบบไฟล์ PDF และ HTML จัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1997-ปัจจุบัน โดยไม่จำกัดสิทธิจำนวนผู้เข้าใช้ สามารถสั่งพิมพ์เอกสาร ส่งเมล์ บันทึกในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเก็บในโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม เช่น EndNote, Procite ได้โดยตรง และจัดเก็บใน EndNote Web การใช้งานทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย
18. คลังปัญญาสถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository - CMRUIR)
คลิกลิ้งค์ >>> http://www.cmruir.cmru.ac.th/
คลังจัดเก็บทรัพยากรสำคัญของมหาวิทยาลัยและให้บริการสารสนเทศให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล มีทั้งผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารการสอน คู่มือปฏิบัติงานของอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
19. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คลิกลิ้งค์ >>> https://libraryservices.mju.ac.th/mjudc/index.php
คลังจัดเก็บรวบรวมและให้บริการสารสนเทศ ประเภทวิทยานิพนธ์และงานวิจัยในรูปแบบดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 3,000 กว่ารายการ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full-Text) โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลาในการใช้บริการ
20. คลังสารสนเทศวิชาชีพทางการศึกษาของหอสมุดคุรุสภา (e-Library KSP)
คลิกลิ้งค์ >>> https://elibrary.ksp.or.th/
“หอสมุดคุรุสภา” ศูนย์รวมแหล่งความรู้เฉพาะทางด้านวิชาชีพทางการศึกษา มุ่งหวังการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา เปิดให้บริการ “คลังสารสนเทศวิชาชีพทางการศึกษาของหอสมุดคุรุสภา” เพื่อจัดเก็บ รวบรวม และบริการสืบค้นสารสนเทศด้านวิชาชีพทางการศึกษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดหมวดหมู่ให้บริการ ประกอบด้วย คลังความรู้วิชาชีพ คลังบุคคลวิชาชีพ คลังพิพิธภัณฑ์ จดหมายเหตุคุรุสภา กิจกรรมการเรียนรู้ และศูนย์ข้อมูลข่าวสาร โดยหอสมุดคุรุสภาเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศได้โดยไม่จำกัดสถานที่หรือเวลา
---------------------------------------------------------------------------------