เรียน เล่น ให้เข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางเพศ ลดการรังแก ผ่านบอร์ดเกม LGBTQI+
เรียน เล่น ให้เข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางเพศ
ลดการรังแก ผ่านบอร์ดเกม LGBTQI+
LGBTQI+ BOARD GAME: LEARN & PLAY TO EMBRACE
THE GENDER DIVERSITY IN SCHOOL
ร่วมสัมผัสประสบการณ์สร้างสรรค์ผ่านบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนทั้งสนุก
และเรียนรู้ที่จะยอมรับความหลากหลายทางเพศ ผ่านกระบวนการ Active Learning และ Design Thinking
กับคุณครู อนันตชัย โพธิ จากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม กับบอร์ดเกม LGBTQI+
---------------------------------
เรียบเรียง พิชยะพงศ์ เนียมประพันธ์
การตื่นตัวเรื่องการรังแก (Bullying) และความหลากหลายทางเพศ ได้เป็นที่พูดถึงในสังคมไทยและวงการศึกษา ในช่วงปัจจุบันอย่างมาก แต่กระนั้นสถานการณ์การรังแก การละเมิดสิทธินักเรียน การดูถูกเหยียดเพศ โดยเฉพาะกับนักเรียนผู้มีความหลากหลายทางเพศยังคงมีอยู่ ถ้าหากเราสามารถสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องได้ เราก็จะมีพื้นที่ที่โอบรับทุกความหลากหลาย พื้นที่ที่เคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น
สถานการณ์การรังแกนักเรียน ที่มีความหลากหลายทางเพศในไทย
จากรายงาน “การรังแกต่อกลุ่มนักเรียนที่เป็นหรือ ถูกมองว่าเป็นคนข้ามเพศ หรือคนรักเพศเดียวกัน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา: รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และมาตรการการป้องกัน ใน 5 จังหวัดของประเทศไทย” ที่สํารวจกลุ่มตัวอย่าง นักเรียน จํานวน 2,070 คนใน 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ ใน 4 ภาค โดยมหาวิทยาลัยมหิดล องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยและยูเนสโก ในปี 2557 พบว่านักเรียนที่ระบุตนเองว่าเป็นกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) กว่าร้อยละ 55.7 ถูกรังแกภายใน 1 เดือนก่อนการสํารวจผ่านรูปแบบการรังแก ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางสังคม และทางเพศ โดยร้อยละ 30.9 ถูกกระทําทางกาย เช่น การตบ ตี ต่อย เตะ ผลักถีบ หยิก ดึงผมดีดหู ล็อกตัว ขัดขา ขว้างของใส่ ข่มขู่ด้วยอาวุธขโมย ซ่อนหรือทําลายของ ขังไว้ในห้องน้ํา ขณะที่ร้อยละ 29.3 ถูกกระทําทางวาจา เช่น การด่าทอล้อเลียน ข่มขู่ด้วยคําพูด ไถเงิน ร้อยละ 36.2 ถูกกระทําทางสังคม เช่น การนินทา สร้างเรื่องโกหกปิดกั้นไม่ให้เข้ากลุ่ม มองด้วยสายตาเหยียดหยามและร้อยละ 24.5 ถูกกระทําทางเพศ เช่น ถอดเสื้อเปิดกระโปรง ดึงกางเกง จับหรือลูบอวัยวะต่าง ๆ บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ทําท่าทางข่มขืน และแกล้งจีบแล้วทิ้ง หรือถูกกระทำมากกว่าหนึ่งแบบขึ้นไป ถึงร้อยละ 55.7 ซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละที่มากกว่า กลุ่มนักเรียนที่ไม่ระบุว่าตนเป็น LGBTQl+ ถึง 3-4 เท่า นอกจากนั้นในรายงานยังระบุถึงพฤติกรรมการรังแก บนโลกออนไลน์ รวมถึงการรังแกที่ครูหรือบุคลากร ในโรงเรียนเป็นผู้กระทําอีกด้วย
นอกจากเพื่อนแล้ว ครูก็รังแกและเลือกปฏิบัติ
รายงานดังกล่าวได้เลือกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม กับนักเรียน ครู และผู้บริหารโรงเรียน บทสัมภาษณ์ ที่น่าสนใจคือ นอกจากเพื่อนรังแกแล้ว กลุ่มนักเรียน LGBTQl+ ยังถูกครูพูดเสียดสีและรังแกด้วย เช่น การเรียกนักเรียน GBT (Gay, Bisexual, Transgender) ว่าหนอน วิธีการพูดด้วยการ กระแทกเสียงแดกดัน ซึ่งถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ที่แตกต่างจากเด็กนักเรียนชายหญิงทั่วไป รวมทั้ง ยังบอกนักเรียน LBT (Lesbian, Bisexual, Transgender) ว่า ทอมสามารถเปลี่ยนได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย หรือการหักคะแนนนักเรียน โดยไม่มีเหตุผล
นอกจากนั้น ครูและผู้บริหารโรงเรียนบางแห่ง ยังไม่ยอมรับตัวตน หรือมองไม่เห็นการมีอยู่ของกลุ่มนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศเหล่านี้ โดยให้สัมภาษณ์ว่านักเรียนที่เป็น LGBTQl+ นั้น เป็นส่วนที่น้อยมากหรือไม่มีเลย ซึ่งขัดกับข้อค้นพบเชิงปริมาณของรายงานที่บอกว่า มีนักเรียนที่ระบุว่า ตนเองเป็น LGBTQl+ ร้อยละ 11.9 จากการสํารวจ นักเรียน 2,070 คน หรือจะพบนักเรียนที่เป็น LGBTQl+ 11 คน จาก 100 คน ซึ่งเป็นสัดส่วน ที่มีนัยสําคัญอย่างแน่นอน
หยอกล้อ กลั่นแกล้ง รังแก
คณะผู้วิจัยค้นพบในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพว่า ทั้งนักเรียนและครูมักเลือกใช้คําว่า “หยอกล้อ" และ “กลั่นแกล้ง" มากกว่าที่จะใช้คําว่า "รังแก” และนิยาม ของแต่ละคําในแต่ละคนก็แตกต่างกัน โดยคําว่า "รังแก” จะมีระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดใน 3 คํา เช่น มองว่าการรังแก คือ การทะเลาะวิวาท ตั้งใจ ให้เกิดความเจ็บปวดกับอีกฝ่าย และมีความหมายในมิติทางลบ ในขณะที่การหยอกล้อนั้นเป็นการแสดงออกถึงความสนิทสนม ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด ความเสียหายกับอีกฝ่าย ในส่วนการกลั่นแกล้ง สามารถตีความให้เข้ากับการรังแกหรือการหยอกล้อ ก็ได้ กล่าวคือมีการให้ความหมายไปในมิติทางบวก ต่อการหยอกล้อหรือการกลั่นแกล้งด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการอภิปรายผล ของการศึกษา คณะผู้วิจัยมองว่าจากการให้ความหมายเชิงบวกกับการหยอกล้อและกลั่นแกล้ง และแยก ทั้งสองคําออกจากการรังแก ทั้ง ๆ ที่ทั้งการหยอกล้อ กลันแกล้ง และรังแกสามารถลดทอนความเป็นมนุษย์ ได้ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการยอมรับการหยอกล้อนั้น เป็นความรุนแรงทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง หรือ วัฒนธรรมที่ทําให้พฤติกรรมรุนแรงกลับกลายเป็น เรื่องปกติและยอมรับได้ อันมาเนื่องจากการหยอกล้อ ได้สร้างความชอบธรรมแก่พฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น ในครั้งต่อ ๆ ไป
กลุ่มนักเรียนที่ไม่ระบุว่าตนเป็น LGBTQI+ หรือนิยามตนเองว่าเป็น “หญิง” หรือ “ชาย” ร้อยละ 24.5 ก็ถูกรังแก
เพราะถูกมองว่า มีความหลากหลายทางเพศ เช่น มีลักษณะหรือท่าทางตั้งตึง ออกสาว ออกห้าว หรือมีนิสัยคล้ายผู้ชาย
สะท้อนให้เห็นว่า อัตลักษณ์และการแสดงออกถึง ความหลากหลายทางเพศกลายเป็นสาระในการรังแกนั่นเอง
ก่อเกิดเป็นบาดแผล และประสบการณ์อันเลวร้าย
ผลการสํารวจเชิงปริมาณพบว่า นักเรียนที่ถูก รังแกหรือถูกมองว่าเป็น LBGTQl+ มีผลการเรียน ที่ลดลงน้อยกว่า 3.0 อยู่ที่ร้อยละ 33.8 มีการขาดเรียนโดยไม่ขอลาหรือไม่ได้รับอนุญาต ภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 31.2 ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 24.7 อยู่ในสภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 22.6 มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ใน3เดือน ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.2 และพยายามฆ่าตัวตาย ใน 1 ปี ที่ผ่านมาถึงร้อยละ 6.7 เมื่อนําข้อมูลมาเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ทางสถิติแล้วจะพบว่า กลุ่มนักเรียนที่ ถูกรังแกเพราะเป็นหรือถูกมองว่าเป็น LGBTQl+ มีความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ทางลบดังกล่าวที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยถูกรังแกเลยและกลุ่มที่ เคยถูกรังแกด้วยเหตุผลอื่น ๆ (อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการถูกรังแก กับผลลัพธ์เชิงลบต่าง ๆ แต่ก็ไม่สามารถระบุและยืนยันได้ว่าการถูกรังแกจะเป็นสาเหตุของผลลัพธ์ ดังกล่าวเท่านั้น เนื่องจากคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิทยาแบบภาพตัดขวาง มิใช่แบบตามยาว)
ในขณะที่การสัมภาษณ์เชิงลึก ทําให้ทราบว่า การรังแกนั้นก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางลบทั้งกลัว เศร้า เครียด ไม่อยากมาโรงเรียน หรือในกรณี ของนักเรียนเกย์ที่ไม่กล้าเข้าห้องน้ำในโรงเรียน เพราะกลัวโดนแกล้งด้วยการขัง เป็นต้น หรืออย่าง กรณีที่ปรากฏในบทความ “บูลลี่ : ประสบการณ์ ที่เลวร้ายในห้องเรียนของคนข้ามเพศ” ของสํานักข่าว บีบีซีไทย ที่ โม อธิกัญญ์ เคยเจอเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว จนทําให้รู้สึกไม่ชอบและไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ทําให้นอนหลับได้เพียงวันละ 2-3 ชั่วโมง และเริ่มไป โรงเรียนสายและขาดเรียน เธอกล่าวว่าเป็นชีวิต 3 ปี ชั้นมัธยมปลายที่แย่มาก หรือกรณีของลักกี้กนกพัชร ต้องกลายเป็นคนสมาธิสั้น เรียนไม่จบ และเป็นคน สองบุคลิก มีอารมณ์แปรปรวน ลงมือทําร้ายแฟน เมื่อครั้งทะเลาะกัน ซึ่งต้องรับการบําบัดจากแพทย์ นี้ถือเป็นเพียงตัวอย่างของประสบการณ์อันขมขื่นที่กลุ่มคน LGBTQI+ ต้องพบเจอในรั้วโรงเรียนจำนวนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่ถูกเปิดเผยอีกมาก และเราไม่อาจจินตนาการถึงความเลวร้ายเหล้านั้นได้เลย
สร้างโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ก็โอบรับความหลากหลายทางเพศ
รายงานดังกล่าวระบุข้อเสนอแนะแก่โรงเรียน เพื่อลดการรังแกนักเรียนที่มีความหลากหลาย ทางเพศในหลายข้อ เช่น การพัฒนาและบังคับใช้ มาตรการป้องกันและจัดการปัญหาการรังแก โดยไม่เลือกปฏิบัติ ลดการกีดกันทางเพศในทุก ๆ กิจกรรม ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเป็นประธานนักเรียน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ นักเรียนLGBTQl+ สามารถแสดงตัวตนของตนเองได้ การปรับเปลี่ยนมายาคติเกี่ยวกับความหลากหลาย ทางเพศในกลุ่มนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ตั้งกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศสภาพศึกษา และเพศวิถีศึกษา มาให้ความรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เข้าใจเรื่องการรังแกและความหลากหลายทางเพศ ซึ่งใกล้เคียงและสอดคล้องกับ "รายงานผลการวิจัย เพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทย (ปี 2559) ที่เสนอแนะในระดับพื้นที่และสถานศึกษา ให้ถึงความร่วมมือของหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ ในพื้นที่มาให้ความรู้ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ให้ครูสอนเนื้อหาวิชาเพศวิถีศึกษาจากมุมมองสิทธิ มนุษยชน ไม่ให้นักเรียนละเมิดสิทธิผู้อื่น และเชื่อมั่น ในตัวนักเรียนที่จะค้นหา ตัดสินใจเลือก และพัฒนาอัตลักษณ์และวิถีทางเพศของตนเอง ให้ครูลดอคติ และห้ามล้อเลียนนักเรียน สามารถบูรณาการแนวคิด เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ ได้
บอร์ดเกม LGBTQI+ จากโรงเรียน บุรีรัมย์พิทยาคม
ถ้าหากพิจารณาจากสถานการณ์การรังแกและ เลือกปฏิบัติต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญข้างต้น ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนและครูข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางเพศถือว่า เป็นสิ่งจําเป็นและสําคัญมาก เพื่อสร้างบรรยากาศ เป็นบวกให้เกิดขึ้นในโรงเรียน วารสารวิทยาจารย์ จึงขอนําเสนอเรื่องราวและประสบการณ์การเรียน การสอนเรื่องความหลากหลายทางเพศในรูปแบบ ที่น่าสนใจและทันสมัย ให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนั่นก็คือ “บอร์ดเกม LGBTQl+ เพื่อการเรียนรู้ จากโรงเรียนบุรีรัมย์ พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์
วารสารวิทยาจารย์ได้รับเกียรติจากคุณครู อนันตชัย โพธิขำ หรือครูแฮร์รี่ของเด็ก ๆ โรงเรียน บุรีรัมย์พิทยาคม มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนการสอนเรื่องความหลากหลายทางเพศ (LGBTQl+) ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) ในรูปแบบของการใช้เกม โดยครูแฮร์รี่ได้เลือกใช้บอร์ดเกม (Board Game) เป็นเครื่องมือ นอกจากนั้นยังได้ร่วมแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการออกแบบบอร์ดเกมดังกล่าว ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็น การแลกเปลี่ยนความคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาผสมผสานกัน กับทั้งนักเรียน ครู รวมทั้งนักออกแบบบอร์ดเกม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูและผู้ปกครองในการปรับใช้รูปแบบการเรียนการสอนให้หลากหลาย และน่าสนใจมากขึ้นในการสร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจใน LGBTQl+ จนนําไปสู่การยอมรับ ความหลากหลายทางเพศลดการรังแก การล้อเลียน และการเหยียดเพศ
ครูแฮร์รี่เล่าถึงที่มาของบอร์ดเกม LGBTQl+ ว่า ตนเองได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม ก่อการครู “ครูปล่อยแสง” ปี 2 อันเป็นงานเสวนา และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และแบ่งปัน ประสบการณ์แก่ครู เสริมศักยภาพครูให้เป็นผู้นํา การเปลี่ยนแปลง (Change Agent) สร้างกระบวนการ เรียนรู้ที่มีความสุข ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว ครูแฮร์รี่ได้ทําความรู้จักกับบอร์ดเกมในฐานะ สื่อการเรียนรู้เป็นครั้งแรก แต่ก็สามารถทําให้เข้าใจถึงความสนุกสนานที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเรียนรู้ ช่วยกระตุ้นความน่าสนใจในการเรียนการสอนได้ โดยหลังจบจากกิจกรรมดังกล่าว ครูแฮร์รี่จึงได้นําแนวคิดนี้กลับมาปรับใช้ในการเรียนการสอนทันที ในวิชาหน้าที่พลเมือง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ตนเองรับผิดชอบ โดยใช้วิธีร่วมเรียนรู้และออกแบบเกม ไปพร้อม ๆ กับนักเรียนด้วย เนื่องมาจากบอร์ดเกม เพื่อการเรียนรู้ก็ถือเป็นเรื่องใหม่สําหรับทั้งคู่
กว่าจะเป็นบอร์ดเกม LGBTQI+
พูดถึงการออกแบบบอร์ดเกมนั้นสามารถแยก กระบวนการออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนเนื้อหา หรือประเด็นที่ต้องการเรียนรู้ และส่วนกลไกหรือ ระบบการดําเนินเกม ครูแฮร์รี่เล่าว่า ในส่วนของ เนื้อหานั้น ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้เลือกประเด็น ที่สนใจในเนื้อหาวิชา ตัวอย่างประเด็นที่นักเรียน ได้หยิบมาใช้ เช่นความหลากหลายทางเพศการรังแก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิ ในอาเซียน กฎหมายต่าง ๆ ในไทย ประชาธิปไตย บทบาทและสถานะทางสังคม รวมไปถึงเรื่องของการคุ้มครองสัตว์ เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้ถือว่าไม่ยาก สําหรับครูและนักเรียน แต่ในส่วนของการออกแบบระบบการดําเนินเกมนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ยากและไม่คุ้นเคย ครูจึงได้ดึงนักออกแบบและกลุ่มคนเล่น บอร์ดเกมทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มาให้คําแนะนําเนื่องจากเป็นผู้ที่คุ้นเคยและเชี่ยวชาญ กับบอร์ดเกมมากกว่า รวมทั้งให้นักเรียนได้ทดลอง เล่นบอร์ดเกมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพื่อให้ศึกษา กลไกและระบบภายในเกม ทําให้สามารถพัฒนา บอร์ดเกมเหล่านั้นให้มีความสนุกสนานและมีมิติ ความเป็นบอร์ดเกมมากขึ้น
สําหรับตัวอย่างบอร์ดเกม LGBTQl+ หรือ “People Through the Prism ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 นั้นจะจําลองสถานการณ์ ๆ ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศพบเจอในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาและทําความรู้จัก เพศสภาพ และอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง การถูกรังแก การถูกเลือกปฏิบัติ อาการเกลียดกลัวกลุ่มคน หลากหลายทางเพศ ฯลฯ แล้วมีการดําเนินเกม เพื่อเรียนรู้ถึงแนวทางในการปฏิบัติหรือทางออก ต่อสถานการณ์ดังกล่าว อย่างเช่น การปรึกษาครู เพื่อนสนิท ผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ การเข้าถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปพิชญา ศรีรัตน์ หรือทับทิม ตัวแทนนักเรียนผู้ร่วมพัฒนาเกมนี้ เล่าถึงที่มาว่า เนื่องจากเพื่อนหลาย ๆ คนนั้นยังไม่เข้าใจประเด็นของความหลากหลายทางเพศ และไม่รับรู้การมีอยู่ ของเพศสภาพอื่น ๆ เช่น Bisexual Queer หรือ Asexual ยังปรากฏการนําเพศมาใช้เป็น คําตําในเชิงดูถูกเหยียดหยามอยู่ รวมทั้งตนเองก็เป็นหนึ่งในชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+ Community) บวกกับมีความสนใจในประเด็นนี้ จึงอยากเผยแพร่การรับรู้เรื่องดังกล่าว ให้กระจายวงกว้างออกไป ซึ่งนอกจากเกมนี้แล้ว ยังมีเกม Diversity Song ที่ดนยา สาโพนทัน หรือมิ้นท์ และเพื่อน ๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ได้นําสถานการณ์ที่คนหลากหลายทางเพศต้องเจอ มาพูดถึงและสะท้อนในรูปแบบของเพลง ทําให้คนเข้าใจความหลากหลายทางเพศง่ายขึ้น เนื่องจาก เพลงคือวัฒนธรรมที่คนเข้าถึงได้ง่ายนั่นเอง รวมถึงบอร์ดเกม Bully Alarm ที่ต้องการลดการรังแกอีกด้วย ครูแฮร์รี่อธิบายเสริมว่า บอร์ดเกมเหล่านี้ทําให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ ตั้งแต่การคัดเลือกประเด็นที่จะนําเสนอ การศึกษาเนื้อหาการออกแบบเกม จนถึงการเล่นบอร์ดเกม โดยทั้งกระบวนการนั้นได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการและมีส่วนร่วม
เสริมด้วยการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
นอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว ครูแฮร์รี่ยังได้แนะนําถึงชุมนุมรัฐศาสตร์และสิทธิมนุษยชนศึกษาที่นักเรียนเป็นผู้ดําเนินกิจกรรมเอง และมีครูเป็นที่ปรึกษาโดยภายในชุมนุมมีกิจกรรม Design Thinking & Active Learning มากมาย นอกจากบอร์ดเกมแล้วยังมีการแสดงละคร หนังสั้น สะท้อนสังคม การดูภาพยนตร์แล้วสะท้อนความคิด เป็นต้น โดยครูแฮร์รีมองว่า การเรียนรู้มิได้จํากัด อยู่ในแค่ห้องเรียนหรือโรงเรียนเท่านั้น นอกจากนักเรียนแล้ว ตัวของครูเองยังต้องพัฒนาและเรียนรู้อยู่เสมอ ครูแอร์เองก็ได้ร่วมทํางานในเครือข่าย ผู้มีความหลากหลายทางเพศภาคอีสาน (IGDN) และภาคประชาสังคมอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งทําให้ครูสามารถเชื่อมโยงเครือชายผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็น ด้านเนื้อหาเรื่องสิทธิมนุษยชน และด้านบอร์ดเกม เพื่อการเรียนรู้นั่นเอง
เกร็ดความสําเร็จของบอร์ดเกม เพื่อการเรียนรู้สร้างความเข้าใจ ลดการรังแก
การใช้บอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ ถือเป็นมิติใหม่ สําหรับการศึกษาไทย แต่สามารถสร้างการรับรู้ และการตระหนักรู้ในประเด็นความหลากหลาย ทางเพศได้ดี เข้าใจง่าย และสนุก ซึ่งส่งผลให้ เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตรต่อนักเรียน LGBTQl+ อีกทั้งยังสร้างความตระหนักรู้ต่อการรังแกและสถานการณ์ที่ LGBTQl+ ต้องเจอ ครูแอร์รี่ ได้ฝากคําแนะนําถึงการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ถึงครูและผู้ปกครองไว้ดังนี้
สามารถติดตามและแลกเปลี่ยน ความรู้ด้านการดําเนินกิจกรรม บอร์ดเกมและกิจกรรมอื่น ๆ ของชุมนุมรัฐศาสตร์และ สิทธิมนุษยชนศึกษา โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ได้ทาง www.facebook.com/pshrburirampitthayakhom/• ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการเลือกประเด็นเนื้อหาที่เขาสนใจไปพร้อม ๆ กับการกระตุ้นจากเรา โดยไม่เอาผู้สอนเป็นศูนย์กลาง• สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียนได้ ทําให้ เกิดความเข้าอกเข้าใจ และมีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกันเสมอ• ดึงการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญเข้ามาด้วย ทั้งในท้องถิ่นและนอกพื้นที่และความรู้ ไม่ได้อยู่แต่ในห้องเรียน
------------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล: พิชยะพงศ์ เนียมประพันธ์, ผู้เรียบเรียง. (2564). เรียน เล่น ให้เข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางเพศ ลดการรังแก ผ่านบอร์ดเกม LGBTQI+. วิทยาจารย์ , 120 (1), 26-31. สืบค้นจาก http://withayajarn.com/Flipbook/K27/index.html