ชีวิตวิถีใหม่กับการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กไทย ด้วยพลังครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัล

ผู้เขียน: รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ บุตรกตัญญ
อาจารย์ประจําสาขาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
--------------------------------------------
โลกในยุคพลิกผัน หรือที่เรียกว่า "VUCA World" อันเป็นโลกแห่งความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจการเมืองและการศึกษา
จากสถานการณ์โควิต-19 ที่ได้เกิดการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว ทําให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจํานวนมากเนื่องมาจากเป็นโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ และยังเป็นการเปลี่ยนแปลงสําคัญสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งเป็นรูปแบบการดําเนินชีวิต ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนทําให้แบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคม คุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้จําต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้มาตรฐานใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย (ราชบัณฑิตยสภา, 2563) ซึ่งรวมทั้งวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีประพฤติปฏิบัติและการจัดการ ดังเช่นการจัดการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ที่จะกล่าวต่อไป
แม้ว่าประเทศไทยจะมีความสามารถในการ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ในระยะหนึ่ง แต่ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจวางใจ มีโอกาสจะเกิดการแพร่ระบาดเมื่อใดก็ได้เช่นกัน สิ่งสําคัญที่ต้องคํานึงในชีวิตวิถใหม่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการแพร่ระบาดในการดําเนินชีวิตประจําวันนั้น เป็นการรักษาอนามัยส่วนบุคคล อาทิ การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย การตรวจคัดกรองด้วยการ วัดอุณหภูมิและการสอบถามประวัติความเสี่ยง
รวมทั้งการปฏิบัติตนที่สําคัญในการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยการเว้นระยะความห่างจากผู้อื่น อย่างน้อย 1-2 เมตร จากการปฏิบัติดังกล่าวทําให้ มีรูปแบบการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็น การทํางานจากที่บ้าน (Work from Home) และการเรียนรู้ที่บ้าน (Learn from Home use Home Based Learning) โดยมีการปรับเปลี่ยนบทบาท ของพ่อแม่ เป็นพ่อครูแม่ครู (Daddy Teacher - Mommy Teacher) สําหรับเด็กปฐมวัย การศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study) ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครูเปลี่ยนมาเป็น ผู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ต้องมีการผสาน การใช้เทคโนโลยีตามความพร้อมของผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนจาก ทางรัฐบาล ซึ่งนับเป็นความท้าทายในการจัดการศึกษา ที่ต้องคํานึงถึงการปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับชีวิต วิถีใหม่ เพื่อให้เด็กและเยาวชนยังคงมีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังของครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัล จึงสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีการผสาน การใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นได้
ช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีความจําเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย
การนํามาใช้อย่างเหมาะสมกับวัยจึงมีความสําคัญ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (2563) ระบุว่า ความฉลาดรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) หมายถึง ทักษะในการนําเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี ดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ แท็บเลต สมาร์ทโฟน โปรแกรม แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย และสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งใน การสื่อสาร การปฏิบัติงานและการทํางานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทํางานหรือระบบงาน ในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพโดยสามารถนํามาใช้ในทางการศึกษา เป็นทักษะที่สําคัญของบุคคลในชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งประกอบด้วยการเข้าถึง (Access) การใช้ (Use) การเข้าใจ (Understand) และการสร้าง (Create) สําหรับ ในสถานการณ์โควิด - 19 ที่มีการจัดการศึกษา ในชีวิตวิถีใหม่ ครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัลสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ แม้ว่าครูบางส่วนไม่ได้นําเทคโนโลยีมาใช้ ในการจัดการเรียนรู้มากนัก แต่เมื่อถึงสถานการณ์จําเป็นที่ต้องมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดช่องว่าง การเข้าถึงการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า ครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัลสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะขอนําตัวอย่างในการ จัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยในชีวิตวิถีใหม่ ดังนี้
การใช้เทคโนโลยีและสื่อการสอนออนไลน์ สําหรับเด็กปฐมวัยนั้น แม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็น เครื่องมือสําคัญในการติดต่อสื่อสาร การทํางาน และสามารถใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย แต่สําหรับเด็กแล้วเวลาส่วนใหญ่ไม่ใช่ที่หน้าจอ โดยเด็กเล็กต่ำกว่า 3 ปีไม่ควรใช้ และสําหรับเด็ก ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปไม่ควรใช้เกิน 15 นาทีต่อหนึ่งครั้ง และไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ในการใช้นั้นให้ใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้อย่างมีจุดมุ่งหมาย ควรมีการกําหนดข้อตกลงในการใช้ร่วมกันกับเด็ก จะได้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม สําหรับเทคโนโลยี ที่เลือกใช้สามารถใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง การประชุมออนไลน์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ออนไลน์ที่ส่งต่อกิจกรรมให้ผู้ปกครองทําร่วมกับเด็ก การให้เด็กได้พบได้พูดคุยกับเพื่อนและครู การเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็ก และการจัดชั้นเรียนออนไลน์ โดยชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal นับว่าเป็นความท้าทายไม่น้อย ในการจัดการศึกษาของครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัลที่ต้อง นําพาผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชนก้าวข้ามผ่าน สถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตวิถีใหม่ให้เกิดการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ อย่างคุ้มค่าเหมาะสมกับสถานการณ์การเข้าถึง (Access) เป็นการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนข้อมูลข่าวสารที่เป็นฐานรากสําคัญในการพัฒนาและสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสังคมรวมถึงการศึกษาของประเทศทั่วโลก ครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัลสามารถวิเคราะห์ช่องทางในการเข้าถึงได้ของเด็กที่มีความพร้อมต่างกันและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ในชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งรูปแบบการเรียนรู้ ๆ ที่สถานศึกษาไปจนถึงมาตรการขั้นสูงสุดคือการปิด สถานศึกษาแล้วให้มีการเรียนรู้ที่บ้านโดยการเข้าถึงเด็กในครอบครัวยากจนที่ไม่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีใช้ ครูใช้วิธีการเยี่ยมบ้านและจัดเตรียมชุดกิจกรรม ให้แก่เด็ก ครอบครัวใดที่มีความพร้อมในการใช้ Smartphone และสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line, Facebook ครูส่งข้อความ ไฟล์ หรือคลิปวิดีโอการเรียนรู้ผ่านทางช่องทางเหล่านั้น ให้ผู้ปกครองนําไปใช้ในการสอนเด็ก ครอบครัวใดที่มีความพร้อมสูงในการมีเครื่องมืออุปกรณ์ดิจิทัล หลากหลายสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บเลต ใช้อินเทอร์เน็ตและการสืบค้นหาข้อมูล โดยใช้ Search Engine ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก โดยการใช้โปรแกรม แอปพลิเคชัน ครูจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนทางออนไลน์ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้มีความพร้อมต่างกันในชีวิตวิถีใหม่การใช้ (Use) เป็นความสามารถในการใช้ อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขั้นพื้นฐาน และ แอปพลิเคชันในชีวิตประจําวัน ได้อย่างคล่องแคล่ว ประยุกต์เทคนิคที่จําเป็นในการใช้ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยทักษะและความ สามารถที่เกี่ยวข้องกับคําว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่ เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคํา โปรแกรมคํานวณ โปรแกรมการนําเสนองาน ตลอดจนเว็บเบราว์เซอร์อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ สู่เทคโนโลยีสําหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น Cloud Computing โดยครูสามารถรู้วิธีการใช้เป็น ใช้อย่างดูแลรักษาให้คุ้มค่าและใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การเข้าใจ (Understand) ถือเป็นชุดทักษะ ที่ช่วยให้เข้าใจบริบท และประเมินสื่อดิจิทัลเพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่พบและมีการปฏิบัติบนโลกออนไลน์ จัดว่าเป็นทักษะสําคัญและจําเป็นที่จะต้องสอนให้เร็วที่สุด เมื่อเด็กเข้าสู่โลกออนไลน์การเข้าใจยังรวมไปถึงการตระหนักว่าเทคโนโลยี เครือข่าย มีผลกระทบต่อพฤติกรรมและมุมมองของผู้เรียนหรือครอบครัวของเด็กปฐมวัยอย่างไรมีผลกระทบต่อความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวผู้เรียนหรือครอบครัวของเด็กปฐมวัยอย่างไร การเข้าใจยังช่วยให้ครูสามารถเตรียม ผู้เรียนสําหรับเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนาทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในส่วนของครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัลสําหรับระดับปฐมวัย ช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีความจําเป็นต้องใช้ เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยการนํามาใช้อย่างเหมาะสมกับวัยจึงมีความสําคัญผู้ใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยสามารถใช้แนวทางที่เป็นหลักการสําหรับการใช้เทคโนโลยี กับเด็กปฐมวัย (The Office of Educational Technology) ด้วยความเข้าใจ ได้แก่ หลักการที่ 1เทคโนโลยีใช้อย่างมีความเหมาะสมเมื่อใช้เป็น เครื่องมือในการเรียนรู้ หลักการที่ 2 เทคโนโลยี ควรใช้เพื่อเพิ่มการเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ สําหรับเด็กทุกคน หลักการที่ 3 เทคโนโลยีควรใช้ เป็นจุดแข็งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปกครอง ครอบครัว ครูและเด็ก และหลักการที่ 4 เทคโนโลยีจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อผู้ใหญ่ และเพื่อนมีปฏิสัมพันธ์ หรือมีการใช้งานร่วมกัน กับเด็กปฐมวัยการสร้าง (Create) เป็นความสามารถในการ ผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย การสร้างด้วยสื่อดิจิทัลเป็นมากกว่าแค่การรู้วิธีการใช้โปรแกรม ประมวลผลคําหรือการเขียนอีเมล แต่ยังรวมความ สามารถในการดัดแปลงสิ่งที่ผู้เรียนสร้างขึ้นมา สําหรับบริบทและผู้ชมที่แตกต่างและหลากหลาย ความสามารถในการสร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich Media เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจน ความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ เช่น Blog การแชร์ภาพถ่ายและวิดีโอ และ Social Media รูปแบบอื่น ๆ ในชีวิตวิถีใหม่ ครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัล มีการเลือกใช้ Platform ต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น Google Classroom, MS Team, Line, Facebook สําหรับการสร้างห้องเรียนออนไลน์ การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อออนไลน์แบบ Virtual Learning เช่น วิดีโอการเรียนรู้ พาไปชม แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน วิดีโอการทํากิจกรรม ที่มีการลงมือปฏิบัติ ชุดการเรียนรู้แบบ Hybridge Learning การประชุมและให้ความรู้ผู้ปกครอง ผ่านทาง Facebook Live การติดต่อสื่อสารกับ ผู้ปกครองผ่านทาง Lineเพื่อให้เด็กและเยาวชนยังคงมีการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยพลังของครูผู้ฉลาดรู้ดิจิทัลจึงสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่มีการผสานการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
บรรณานุกรม
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). Digital literacy. สืบค้นจาก https://www.ops.go.th
- สํานักส่งเสริมสุขภาพ และสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. (2563) คู่มือการปฏิบัติสําหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ
- สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
- อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2563), ร.ร. หยุด ‘การเรียนรู้ไม่หยุด’ เสริมพัฒนาการปฐมวัยอย่างไร ในช่วงโควิด. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879530.
- อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2563). New normal สําหรับเด็กปฐมวัยจากสถานการณ์โควิด-19 สืบค้นจาก https://www.starfishlabz.com/blog/207-new-normal.
- Kertez.D.A. (2020). Life with Covid -19- a new norm Retrieved from https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1906490/life-withcovid-19-a-new-norm
- The Office of Educational Technology (n.d.) Guiding Principles for Use of Technology with Early Learners Retrieved from https://tech.ed.gov
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
อรพรรณ บุตรกตัญญ. (2564). ชีวิตวิถีใหม่ กับการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กไทย ด้วยพลังครู ผู้ฉลาดรู้ดิจิทัล . วิทยาจารย์, 120 (1), 20-25. สืบค้นจากhttp://withayajarn.com/Flipbook/K27/index.html