การเรียนการสอน : การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของอนาคต
ผู้เขียน : ผศ.ดร.สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ (หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)
ที่มาข้อมูล: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). ที่ระลึกงานวันครู ครั้งที่ 64 พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: บริษัท ออนป้า จำกัด, หน้า 57-60.
--------------------------------------
ในขณะที่โลกอยู่ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อยอมรับอนาคตของเทคโนโลยี วิธีการ และสิ่งที่สอนในระบบการศึกษาจะได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อให้ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของศตวรรษที่ 21 Tricia McLaughlin ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัย RMIT (RMIT University) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) อย่างเต็มรูปแบบ และมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้งในยุโรปและเอเชียได้กล่าวถึงเกี่ยวกับวิธีการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญที่ครูจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต ดังนี้
1. ครูและนักเรียนมีความเชื่อมโยงผูกพัน ความร่วมมือ และผู้ร่วมสร้าง (Connectedness, Collaboration and Co - Creation) แนวคิดของครูที่ยืนอยู่หน้าห้องที่เต็มไปด้วยนักเรียนที่รับฟังและตอบสนองต่อทิศทางกำลังกลายเป็นอดีตไปมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ทำให้ช่องว่างการเรียนรู้ของนักเรียนจะแทนที่ห้องเรียนทั่วไปที่ทุกคนรู้จักในวันนี้ สิ่งนี้จะทำให้นักเรียนกลายเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือหรือผู้ร่วมสร้างของการเรียนรู้ของตนเองการอนุญาตให้มีความร่วมมือการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนทุกคนมักจะเกิดขึ้นนอกห้องเรียน ดังนั้น ครูจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกสำหรับประสบการณ์เรียนรู้ในบริบทต่าง ๆ และห้องเรียนของนักเรียนและครูจะต้องสะท้อนผลการเรียนรู้ที่ได้รับ กลุ่มของนักเรียนจะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การทำงานร่วมกันเกิดขึ้นในโครงการการเรียนรู้ระหว่างบุคคลทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ห้องเรียนจะอยู่ร่วมกันเป็นพื้นที่ทางกายภาพ (Physical) และออนไลน์ (Online) เป็นการเรียนการสอนแบบอนาคตที่เรียกว่า Flipped Classroom โดยผสมผสานกันระหว่าง e-Learning และห้องเรียนจริง รูปแบบการเรียนแบบ Flipped Classroom ทำให้เกิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ที่บ้านและใช้เวลาในชั้นเรียนร่วมกันและนำความรู้ไปใช้กับปัญหาในชีวิตจริงเมื่อโลกก้าวไกลแล้วครูไทยก้าวทัน ห้องเรียนที่เป็นทางการจะถูกแทนที่ด้วยพื้นที่การเรียนรู้ที่อนุญาตให้นักเรียนกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ทำงานร่วมกันแบบตัวต่อตัวหรือโครงงาน เพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริงและสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน2. การเรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere, Anytime Learning) ยุคดิจิทัล (Digital Era) กลายเป็นเรื่องง่ายที่จะเชื่อมต่อกับการเข้าถึงทั่วโลก โลกแห่งข้อมูลอยู่แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัสด้วยการคลิกปุ่มหรือคำสั่งเสียงง่าย ๆ และเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ นักเรียนจะต้องพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองเทคโนโลยีไม่ได้เป็นปัจจัยกระตุ้นอีกต่อไปเมื่อพูดถึงการเรียนรู้ หรือเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ต้องรวมเข้าไว้ในอนาคตของการศึกษา เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนมีทักษะที่จะรับมือกับโลกที่พึ่งพาเทคโนโลยีในขณะที่อาจมีบางคนโต้แย้งว่าเทคโนโลยีในห้องเรียนจะสร้างนักเรียนที่ขี้เกียจและไม่มีปฏิสัมพันธ์สื่อสารกันในชั้นเรียน Tricia McLaughlin กล่าวว่า ข้อโต้แย้งในความเชื่อเหล่านี้เป็นตำนานไปแล้ว เพราะเทคโนโลยีได้สร้างขอบเขตที่ไม่รู้จบที่การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ กับใครก็ได้ ที่ไหน และเวลาใดก็ได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผลของการเรียนรู้ก็ได้ “ความจริงคือห้องเรียนสามารถอยู่ได้ทุกที่ทุกเวลา นักเรียนสามารถทำงานในโครงการในบริบทเสมือนกับนักเรียนคนอื่น ๆ จากทั่วโลกในช่วงเวลาใดก็ตาม”ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับผู้คนได้ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว การศึกษาในอนาคตจะต้องแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของนักเรียนได้อย่างไรรวมถึงสอนคนรุ่นต่อไปถึงวิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนการเรียนรู้ตลอดกาลและครูจำเป็นต้องโอบกอดเทคโนโลยีและจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลประโยชน์ของนักเรียนและครูเอง3. การปรับแต่งตามความต้องการของนักเรียน สำหรับการเข้าถึงผู้เรียนเป็นลำดับแรก (Customization for a Learner - First Approach) นอกจากความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปของสิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดห้องเรียน ความคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนที่ส่งมอบจะต้องได้รับการเปลี่ยนโฉมหน้าด้วยอาชีพส่วนใหญ่ปฏิบัติต่อความต้องการของลูกค้าของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยของแพทย์แต่ละคนมีแผนการรักษาเป็นรายบุคคล แต่สำหรับการศึกษาไม่ควรแตกต่างกัน เพราะนักเรียนต้องได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครูคาดหวังเหมือนกันทุกคน แต่ครูต้องมีการปรับแต่งตามความต้องการและความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนรูปแบบการสอนและการเรียนรู้แบบเก่าที่เหมาะกับทุกอย่างนั้นล้าสมัยและไม่มีสถานที่สำหรับการศึกษาในอนาคต ครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และนักเรียนจะสามารถควบคุมเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองได้มากขึ้นในอดีตครูสอนให้นักเรียนทุกคนทำงานแบบเดียวกันโดยไม่คำนึงถึงความสามารถหรือทักษะ แต่ปัจจุบันนี้ครูรู้แล้วว่าสิ่งที่ครูได้ทำไปนั้นผิดพลาด และนักเรียนจำนวนมากไม่ได้รับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่ครูสอน นักเรียนมีทักษะและความสามารถแตกต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นจากการสอนในอดีตเป็นผลให้ครูจะมีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคลสำหรับนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้ในจังหวะที่เหมาะสมที่สุดตามความสามารถของตนเอง และมีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับตนเองการรวบรวมข้อมูลป้อนกลับและข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ประกอบการอาชีพอื่น ๆ จะช่วยให้แผนการเรียนรู้สำหรับนักเรียนรายบุคคลถูกรวมเข้ากับระบบการศึกษาได้สำเร็จ เพื่อเพิ่มศักยภาพสำหรับความก้าวหน้าส่วนบุคคลของนักเรียน องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่นำโดยครูจะยังคงอยู่ที่จะช่วยเพิ่มการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเมื่อบูรณาการเข้ากับสื่อดิจิทัลออนไลน์ (Online Digital Media)ห้องเรียนแห่งอนาคตจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การผสมผสานของการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการเรียนรู้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ ความอยากรู้อยากเห็น จินตนาการ และการคิดการออกแบบการเรียนรู้4. การนำการทดสอบไปทดสอบ (Putting Testing to the Test) การสอบนักเรียนทุกวันนี้มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์สุดท้าย คือ การบรรลุคะแนนสอบที่สูง โดยได้รับความแตกต่างในชั้นเรียน การศึกษาในอนาคตจะพิสูจน์สิ่งที่นักเรียนได้รับจากการศึกษา ไม่ใช่ผลคะแนนสอบการทดสอบนักเรียนอาจเป็นวิธีที่อันตราย เพราะครูใช้การทดสอบเพื่อสามารถนำไปสู่สิ่งที่ครูต้องการเพื่อให้บรรลุผลได้โดยง่าย แต่การทดสอบนักเรียนสามารถนำครูไปในทางที่ผิดได้ครูต้องการประเมินระหว่างสอนในรายวิชา เพื่อประเมินความพร้อมของนักเรียนเป็นระยะ ๆ การช่วยเหลือให้คำแนะนำนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อปรับการเรียนการสอน โดยครูอาจติดตามตรวจสอบงานที่มอบหมายเป็นระยะ ๆ การให้คำแนะนำป้อนกลับ การรับฟังข้อมูลป้อนกลับ (เสียงสะท้อน) ของนักเรียนครูมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ในทุกปีจะมีข้อมูลการศึกษาวิจัยใหม่ ๆ จากประเทศใหม่ ๆ เกี่ยวกับคุณค่าของครู ครูมีประสิทธิภาพการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคุณครูก้าวทันการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง ครูก้าวทันด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่าถ้าไม่มีครูที่ดี ตัวเราก็คงไม่ได้เป็นอย่างที่เราเป็นทุกวันนี้
รายการอ้างอิง
Tricia McLaughlin. (2019). The Future of Learning and Teaching: Big Changes Ahead. Retrieved December 7, 2019, from https://www.rmit.edu.au/study-with-us/education/discover-education/the-future-of-learning-and-teaching-big-changes-ahead-for-education.