ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
ความก้าวหน้าทางอาชีพ หมายถึง การได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น และการได้รับเงินเดือนสูงขึ้น กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการเพื่อความก้าวหน้าในเส้นทางวิชาชีพครู คือ
การดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว จะเป็นหลักประกันในความก้าวหน้าในเส้นทางวิชาชีพ ความก้าวหน้าจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นกับตัวบุคคลว่าได้ปฏิบัติตนตามแบบแผนที่ระบบกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด๑. การกำหนดให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาส่งเสริมวิชาชีพครู คือ กระทรวงศึกษาธิการ คุรุสภา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ,สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.), สถาบันผลิตครู๒. การกำหนดให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุมที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ๓. การกำหนดมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพ๔. การปรับเปลี่ยนระบบตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา๕. การกำหนดวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ๖. การกำหนดอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
แนวทางปฏิบัติตนเพื่อความก้าวหน้าตามเส้นทางวิชาชีพครูนั้น ประกอบด้วย
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๓๘ กำหนดไว้ว่า ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี ๓ ประเภท คือ๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ๒. ปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ คือ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตน และ๓. ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งองค์ความรู้ ทักษะในการประกอบวิชาชีพ สมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ตลอดจนบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม เกิดจิตวิญญาณของครูตามจรรยาบรรณของวิชาชีพด้วยการศึกษาทั่งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ทั้งนี้เพื่อรองรับการประเมินความรู้ ประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ ตลอดจนความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ เพื่อการเลื่อนตำแหน่ง การมีและการเลื่อนวิทยฐานะตลอดจนการได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้น
มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ได้กำหนดให้ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ คือก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครู อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ข) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองอธิการบดี อธิการบดี และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดค) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น คือ ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด วิทยฐานะใด จะได้รับเงินเดือนอย่างใด ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนวิทยฐานะ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ส. กำหนดก) ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษข) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการชำนาญการ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ และผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษค) ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษง) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ และศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ
ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งความก้าวหน้าของบุคลากรวิชาชีพทางการศึกษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ต้องตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพ มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของวิชาชีพ ประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เสริมสร้างประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติภารกิจด้วยการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมทั้งการรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถประพฤติปฏิบัติตนและดำเนินการตามแนวทางต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ ก็ย่อมจะมีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามระบบบริหารงานบุคลากรวิชาชีพทางการศึกษาที่ได้กำหนดไว้อย่างแน่นอน
ที่มาข้อมูล
สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี, ๑๔๑-๑๔๕.