การจัดการความรู้
ความหมายของความรู้ (Knowledge)
ความรู้ คือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถที่จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพที่ดีกว่า ความรู้เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างความเข้าใจตลอดจนการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่างสถานการณ์ ค่านิยม ความรู้ในบริบทและความรู้แจ้งอย่างชัดเจนซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูลและสารสนเทศ ทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้ ความรู้ คือข้อเท็จจริง ประสบการณ์ค่านิยม ความเชื่อ กระบวนการและข้อมูลสารสนเทศที่ผนวกด้วยความเข้าใจอันเกิดจากการเปรียบเทียบ การตีความ การวินิจฉัยและการตรวจสอบผลกระทบซึ่งทำให้เกิดคุณค่าสูงและพร้อมที่จะนำไปประยุกต์สู่การตัดสินใจและการปฏิบัติ
ประเภทของความรู้ การแบ่งประเภทของความรู้สามารถมองได้หลายมิติ แต่มิติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ
1. ความรู้ฝังลึก (Implicit Knowledge) หมายถึง เป็นความรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากประสบการณ์ การศึกษา การสนทนา การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเชื่อ เจตคติของแต่ละบุคคล2. ความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาจากบุคคลด้วยการบันทึกในรูปแบบต่างๆ3. ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Culture Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากความเชื่อ ศรัทธา ซึ่งจะเกิดจากผลสะท้อนกลับของตัวความรู้และสภาพแวดล้อมขององค์กร องค์กรที่พัฒนามาเป็นระยะเวลานานจะมีการพัฒนาความเชื่อร่วมกันในเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติขององค์กร ความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) ซึ่งก็คือวัฒนธรรมขององค์กรนั่นเอง
ความรู้ในเชิงปรัชญาว่าด้วยทฤษฎีความรู้ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ความรู้เชิงประจักษ์ (Empirical Knowledge) เป็นความรู้เกิดจากการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า2. ความรู้เชิงวิเคราะห์ (Analytical Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้ตรรกะเป็นเครื่องมือในการอนุมานจากฐานความรู้ที่มีอยู่เดิม3. ความรู้เชิงทฤษฎี (Theoretical Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ในลักษณะที่เป็นนามธรรม โดยการใช้สัญชาตญาณและการหยั่งรู้ ซึ่งรู้ความจริงได้โดยอาศัยจิตที่ได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ4. ความรู้เชิงปทัสฐาน (Normative Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้ปทัสฐานและค่านิยมของสังคมเป็นตัวกำหนด ไม่สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเครื่องมือได้
ความรู้สามารถจำแนกได้เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลและความรู้ที่อยู่นอกตัวบุคคลโดยเฉพาะความรู้และความชำนาญมักไม่มีตัวตนให้เห็น
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์สะสมไว้ในตัวบุคคล ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรวบรวมจัดระบบนำไปสู่การพัฒนางาน สร้างองค์ความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการจัดการความรู้ต้องใช้ระยะเวลาและมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย การจัดการความรู้เป็นกระบวนการซึ่งเป็นการจัดระเบียบเพื่อสร้างสรรค์องค์กรและใช้ความรู้เพื่อสนับสนุน และปรับปรุงองค์กร การจัดการความรู้เป็นระบบข้อมูลข่าวสาร ทักษะที่จะช่วยปรับปรุงองค์กรในยุคการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่องเกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เป้าหมายคือ การพัฒนางานและพัฒนาคนใดยมีความรู้และกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ
การจัดการความรู้ หมายถึง การจัดการที่ว่าด้วยการนำเอาความรู้และความเข้าใจถึงการทำงานร่วมกันของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันในองค์กรมาเก็บรวบรวมและเรียบเรียงในเชิงประโยชน์ในการสร้างคุณค่า เพื่อความแตกต่างและพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
การจัดการความรู้สำหรับองค์การประกอบด้วยกิจกรรมที่เน้นในการรวบรวมความรู้จากประสบการณ์ของตนเองและประสบการณ์ของผู้อื่น เพื่อความเหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ที่จะตอบสนองพันธกิจขององค์การ กิจกรรมต่างๆ จะสำเร็จต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ในการสร้างความรู้ใหม่ๆ ความพยายามที่จะทำให้ดีขึ้นโดยใช้ระบบปัญญาในการแสวงหา จัดเก็บ และประยุกต์ใช้ความรู้สำหรับการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การจัดการความรู้เป็นกระบวนการของการเก็บรวบรวมความรู้ในองค์กรและนำความรู้ที่เก็บรวบรวมจากบุคลากรแต่ละคนมาถ่ายทอด แลกเปลี่ยน เป็นการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรรวมถึงการจัดเก็บความรู้ไว้เป็นทรัพย์สินที่คงอยู่กับองค์กรตลอดไป
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูลสารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรมและจัดเก็บไว้ในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงความรู้ได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและการถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่ จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร
องค์ประกอบของการจัดการความรู้
ความสำเร็จของการจัดการความรู้เกิดจากการผสมผสานการทำงานระหว่างองค์ประกอบของการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย
1. คน (IPeople) กลยุทธ์หลักที่องค์การใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันม่งที่ความสามารถของคนในองค์กรที่จะสร้างนวัตกรรมและมีความคล่องตัวที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสภาวะการณ์ การพัฒนาคนในองค์กรจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก2. กระบวนการ (Process) กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยแนวทางและขั้นตอนของการจัดการความรู้
ขั้นตอนของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ- การกำหนดวิสัยทัศน์หรือการทำแผนที่ความรู้- การแบ่งปันความรู้หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้- การประยุกต์ใช้หรือเผยแพร่ความรู้
3. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดการความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ในองค์การให้เป็นความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อบุคคลนั้นในเวลาและรูปแบบที่บุคคลนั้นต้องการเรียกว่าระบบบริหารความรู้ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บสารสนเทศ (Repositories) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน
การจัดการความรู้นั้นมีความซับซ้อนและไม่ใช่เพียงการเก็บรวบรวมข้อมูลในองค์กรเท่านั้น การจัดการความรู้ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบหลักๆ คือ (Nonaka, 1998)
1. บุคลากร ต้องเป็นบุคลากรที่มีความรู้ (Knowledge Worker) ซึ่งควรประกอบด้วยความสามารถ ดังนี้
1.1 ความสามารถในการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้1.2 ความสามารถในการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ1.3 ความร่วมมือร่วมใจกับผู้อื่น1.4 ความสามารถคิดเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และ1.5 ความอ่อนน้อมถ่อมตน
2. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพมีการจัดและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ตลอดจนมีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานและการเรียนรู้3. ผู้นำแห่งการเรียนรู้ (Learning Leader) ภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน ซึ่งจะต้องพัฒนาความรู้ของตนเอง มีบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำ เปิดโอกาสให้ผู้ตามมีอิสระในการทำงาน เป็นผู้นำแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพร้อมที่จะนำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร4. ระบบการจัดการ (Management System) ระบบการจัดการที่เอื้ออำนวยที่เหมาะสม เน้นการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจ มีระบบและกลไกการนิเทศและการประกันคุณภาพภายใน ระบบของการจัดการขององค์กรต้องมีลักษณะสำคัญพื้นฐาน คือ
4.1 ฝ่ายบริหารระดับสูงให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน4.2 มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน4.3 วัตถุประสงค์มีความหมาย4.4 ระดับความไว้เนื้อเชื่อใจสูง4.5 ภาวะผู้นำภายในทีมงานดี และ4.6 การแบ่งปันผลตอบแทนและรางวัล
การจัดการความรู้ในองค์กรนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วและเหมาะสมมากขึ้น ดังนั้นการจัดการความรู้จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการนำเอามาประยุกต์ใช้กับองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันนี้
ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้
ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ช่วยให้การดำเนินการจัดการความรู้เป็นไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้มีหลายแนวทาง ATPQC (American Productivity and Quality Center) กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ไว้ คือ
1. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร2. ยุทธศาสตร์ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด3. ยุทธศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า4. ยุทธศาสตร์ปัจเจกบุคคล5. ยุทธศาสตร์จัดการสินทรัพย์ทางปัญญา และ6. ยุทธศาสตร์สร้างความรู้และนวัตกรรม
นอกจากนี้นักวิชาการยังได้เสนอยุทธศาสตร์การกระทำต่อความรู้ 10 ประการ คือ การสังเกต รวบรวม ตั้งสมมติฐาน ตีความ จัดกลุ่ม จัดฟัง แลกเปลี่ยน เผยแพร่ สร้างแบบจำลองและประยุกต์ตัดสินใจดำเนินการ รวมทั้งได้มีการนำเสนอยุทธศาสตร์อื่นๆ เช่น
1. ยุทธศาสตร์การใช้ความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์2. ยุทธศาสตร์วัดต้นทุนทางปัญญา3. ยุทธศาสตร์ปัจจัยหลักต่อความสำเร็จ
ที่มาข้อมูล
สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี, หน้า 33-37.