การจัดการความขัดแย้ง
แนวคิดพื้นฐาน
ความขัดแย้ง เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความเห็นไม่ตรงกันหรือมองกันคนละมุม ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากเมี่ยบุคคลรับรู้ไม่เหมือนกัน ความสำเร็จขององค์การขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ความขัดแข็งอาจไม่เป็นประโยชน์ถ้านำไปสู่กิจกรรมที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์การ ในทางตรงกันข้ามความขัดแย้งจะเป็นประโยชน์ถ้ความเห็นที่ต่างกันส่งเสริมหรือนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์การ ความขัดแย้งที่เป็นประโยชน์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจของกลุ่มหรือการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์เป็นทักษะที่จำเป็นยิ่งของผู้นำ มีงานวิจัยที่แสดงว่าผู้นำใช้เวลาประมาณร้อยละยี่สิบในการจัดการความขัดแย้ง (Lussig aid Achua, 2007)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำ “ขัดแย้ง” ว่าหมายถึง “ไม่ลงรอยกัน” นอกจากนั้นได้อธิบายคำว่า “บัต” หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ปืนไว้ และให้ความหมาย คำว่า “แย้ง” หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ด้านไว้ ทานไว้ ดังนั้น จึงพอเห็นได้ว่าความขัดแย้งนั้นประกอบด้วยอาการทั้งบัต ทั้งแข็ง นั่นคือแต่ละฝ่ายนอกจากจะไม่ทำตามกันแล้ว ยังต้านทานเอาไว้อีกด้วย
พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Westers Dictionary) อธิบายว่า ความขัดแย้ง (confid) มาจากภาษาละตินว่า confligere ซึ่งแปลว่า การต่อสู้ การสงคราม ความพยายามที่จะเป็นเจ้าของ การเผชิญหน้าเพื่อมุ่งร้าย การกระทำที่ไปด้วยกันไม่ได้ในลักษณะตรงกันข้าม การไม่ถูกกันเมื่อมีความสนใจ ความคิดหรือการกระทำที่ไม่เหมือนกัน
มีแนวคิดพื้นฐานบางประการ ดังนี้
1. ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นของที่เกิดขึ้นตามปกติในสังคม ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบเท่าที่เรายังมีชีวิตอยู่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่มในประเด็นเกี่ยวกับการรับรู้ มุมมอง ความเชื่อ ความคิด ค่านิยม ความต้องการ วิธีการ และเป้าหมาย มักจะเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความขัดแย้ง3. ทรรศนะที่มีต่อความขัดแย้งเปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมเผื่อว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งเลว ความขัดแย้งเกิดจากการดอยความสามารถของผู้บริหาร ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงหรือขจัดให้หมดไป ต่อมาเชื่อว่าความขัดแย้งเกิดตามธรรมชาติในทุกกลุ่มและทุกองค์การ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งไม่จำเป็นจะต้องเลวร้ายเสมอไป อาจเป็นประโยชน์โดยช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานของกลุ่มก็ได้ ในปัจจุบันเชื่อว่าความขัดแย้งเป็นของจำเป็น เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในองค์การความขัดแย้งไม่ใช่ดีทั้งหมดหรือเลวทั้งหมด ความขัดแย้งก่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นบ่อเกิดของการพัฒนา4. ความขัดแย้งอาจจำแนกได้หลายแบบ แต่โดยมากอาจจำแนกออกเป็น ความขัดแย้งภายในบุคคลความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งภายในกลุ่ม ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ความขัดแย้งภายในองค์การ ความขัดแย้งระหว่างองค์การ และความขัดแย้งระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม5. ความขัดแย้งมีทั้งประโยชน์และโทษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของความขัดแย้งและระดับของความขัดแย้งความขัดแย้งที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไปย่อมไม่มีประโยชน์ ความขัดแย้งที่มีในระดับที่พอเหมาะจะช่วยทำให้องค์การมีประสิทธิผล6. บุคคลที่รู้จักและเข้าใจความขัดแย้ง ย่อมจะได้เปรียบและใต้ประโยชน์จากความขัดแย้งมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้จักและไม่เข้าใจความขัดแย้ง7. ผู้บริหารที่รู้จักและเข้าใจความขัดแย้ง ย่อมสามารถที่จะเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นความสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ได้
ในทางการศึกษานั้น ความขัดแย้งมักจะเกิดจากลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อทรัพยากรทางการศึกษามีไม่พอเพียงกับความต้องการของบุคคลหรือกลุ่มในสถานศึกษาหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทรัพยากรในที่นี้อาจเป็นทั้งสิ่งที่เห็นได้ และสิ่งที่เห็นไม่ได้ เช่น คน เงิน วัสดุ ตำแหน่ง สถานภาพ หรือเกียรติยศ2. ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มแสวงหาทางที่จะควบคุมกิจกรรม งาน หรืออำนาจซึ่งเป็นสมบัติของคนอื่นหรือกลุ่มอื่น ความขัดแย้งนี้เป็นผลมาจากการก้าวก่ายในงานหรืออำนาจหน้าที่ของผู้อื่น3. ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่ม ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้เกี่ยวกับเป้าหมายหรือวิธีการในการทำงาน ต่างคนต่างก็มีเป้าหมายและวิธีการที่แตกต่างกัน และเป้าหมายหรือวิธีการต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้
ความขัดแย้งกับการเปลี่ยนแปลงเป็นของคู่กัน ผู้บริหารที่ดีย่อมไม่ปฏิบัติงานโดยการพยายามรักษาสถานภาพเดิมแต่จะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์การ เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่สูงกว่าและที่ดีกว่า การเปลี่ยนแปลงทำให้สมาชิกของหน่วยงานนั้นเกิดความเครียด ความเครียดทำให้เกิดความขัดแย้ง และความขัดแย้งก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
กระบวนการในการจัดการความขัดแย้ง
การจัดการความขัดแย้งกับการแก้ไขความขัดแย้งมีขอบเขตไม่เหมือนกัน การแก้ไขความขัดแย้ง เป็นการดำเนินการให้ความขัดแย้งสิ้นสุดหรือสงบลง การแก้ไขความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความขัดแย้ง
การจัดการความขัดแย้งเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย (diagnosis) และการเข้าแทรกแซง (intervention) จุดมุ่งหมายของการวินิจฉัยก็เพื่อจะหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการณ์ของความขัดแย้ง สาเหตุของความขัดแย้งโดยพิจารณาว่าบุคคลหรือกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันในเป้าหมายหรือวิธีการอย่างไร ขอบเขตของความรับผิดชอบของบุคคลหรือของกลุ่มชัดเจนหรือไม่ บุคคลหรือกลุ่มมีการแข่งขัน เพื่อจะได้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดหรือไม่ ตลอดจนพิจารณาว่ามีความจำเป็นที่ผู้บริหารจะเข้าไปแทรกแซงหรือไม่ จุดมุ่งหมายของการเข้าไปแทรกแซงของผู้บริหารก็เพื่อจะทำให้ความขัดแย้งอยู่ในระดับที่พอเหมาะและจะส่งผลให้องค์การมีประสิทธิภาพ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง (conflict resolution) หมายถึง การลดหรือการขจัดความขัดแย้ง แต่การจัดการความขัดแย้ง (conflict management) ไม่จำเป็นต้องหมายถึง การลดปริมาณของความขัดแย้ง การแก้ปัญหาความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ง่ายแต่มักจะแก้ไขได้ยาก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจวิเคราะห์ ตัดสินใจและดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการความขัดแย้งจากประการต่อไปนี้
1. กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ และมีประโยชน์ให้เกิดขึ้นในหน่วยงานหรือองค์การในเมื่อความขัดแย้งมีในระดับค่อนข้างต่ำ2. ลดระดับของความขัดแย้งหรือระงับความขัดแย้ง ในเมื่อความยัดแย้งมีในระดับสูงเกินไป จนกระทั่งเป็นผลเสียแก่หน่วยงานหรือองค์การ3. การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
กระบวนการบริหารความขัดแย้ง (conflict management process) แบ่งออกได้เป็น 4 ชั้น ดังต่อไปนี้
1. การวินิจฉัยความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง2. การนิยามปัญหาความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาธรรมชาติของความขัดแย้งว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม3. การพิจารณาผลที่จะตามมาของความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาว่าผลของความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นมานั้นเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดี ผลที่จะเกิดขึ้นในขณะนี้เป็นอย่างไร และผลที่จะเกิดในอนาคตเป็นอย่างไร4. กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาว่าจะใช้เทคนิควิธีใดในการบริหารความขัดแย้งที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์
กระบวนการของการจัดการความขัดแย้งดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นดังแผนภาพต่อไปนี้
ในกระบวนการจัดการความขัดแย้งนั้น ควรต้องตระหนักถึงผลที่จะตามมาของความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในขณะนี้หรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตดังต่อไปนี้
1. ความขัดแย้งกระตุ้นให้บุคคลสนใจในงาน และเป็นแรงจูงใจให้บุคคลแก้ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งองค์การที่ทุกคนคิดเหมือนกันอาจเป็นองค์การที่น่าเบื่อหน่าย เช่น องค์การที่บังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามกฏอย่างเข้มงวด2. ความขัดแย้งทำให้เกิดความคิดใหม่และความคิดที่ดีกว่า เมื่อคนมีความคิดที่แตกต่างกันก็จำเป็นจะต้องเสียความคิตที่ดีกว่า3. ความขัดแย้งอาจนำไปสู่ผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาจช่วยทำให้การสื่อสารระหว่างกลุ่มดีขึ้น ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมักจะทำให้เกิดผู้นำภายในกลุ่มขึ้น
ในขณะเดียวกันผลที่ตามมาในทางลบของความขัดแย้ง เช่น
1. การรับรู้ที่มีต่ออีกฝ่ายหนึ่งจะถูกบิดเบียน คนโดยมากมักจะมองเห็นว่างานของตนย่อมดีกว่าของคนอื่น2. คนที่กลุ่มมักเลือกให้เป็นตัวแทนในการเจรจากับกลุ่มอื่นนั้น มักจะเป็นคนที่มีความคิดสุดโต่งจึงไม่ใช่คนที่จะเป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มและไม่ใช่ผู้ที่จะช่วยในการแก้ปัญหา3. ความขัดแย้งทำให้เกิดจุดบอด มองเห็นความผิดของคนอื่นแต่ไม่เห็นความผิดของตัวเอง ดังนั้น ในการจัดการความขัดแย้งนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ถึงผลที่จะตามมาของความขัดแย้ง พยายามหลีกเลี่ยงผลเสียที่จะตามมามุ่งที่ผลดีจะตามมาจากความขัดแย้ง
ทักษะที่จำเป็นในการจัดการความขัดแย้ง
การจัดการความขัดแย้งมิใช่ของง่ายหรือของน่าสนุก แต่เป็นสิ่งท้าทายที่ควรกระทำ เพราะหากเราทำสำเร็จ จะนำความสงบสุขมาสู่หน่วยงานและจะนำไปสู่การเกิดประสิทธิภาพของหน่วยงานด้วย วิธีการที่จะจัดการความขัดแย้งให้ประสบความสำเร็จคือ การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการจัดการความขัดแย้ง ทักษะที่จำเป็นได้แก่ สิ่งต่อไปนี้
1. รู้จักพูด
การพูดนั้นสามารถที่จะเป็นได้ทั้งการเพิ่มความขัดแย้งและการลดความขัดแย้ง ในสถานการณ์ความขัดแย้งใด ๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้จักวิธีพูด พูดเพื่อลดความขัดแย้งหรือพูดเพื่อแก้ปัญาความขัดแย้ง หลักยึดบางประการในการพูดเพื่อลดหรือแก้ปัญหาความขัดแย้ง เช่น
(1) สร้างบรรยากาศแห่งความจริงใจ และมีความเชื่อถือซึ่งกันและกันในเวลาพูด
(2) การพูดนั้นมิใช่ให้ตัวเองเข้าใจ แต่เพื่อให้คนอื่นเข้าใจ(3) ถ้าผู้พูดเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ การสื่อความหมายโดยการพูดจะมีประสิทธิภาพ(4) ความแตกต่างระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจึงมีมากเท่าใด การสื่อความหมายจะมีอุปสรรคมากขึ้นเท่านั้น(5) รู้จักใช้ถ้อยคำให้เหมาะสม ใช้ถ้อยคำให้ถูกหลักเกณฑ์(6) รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความหมาย การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายเป็นการแสดงภูมิรู้และภูมิปัญญาของผู้พูด(7) รู้จักใช้ถ้อยคำที่เหมาะแก่เวลาและโอกาส(8) มีความสามารถที่จะถ่ายทอดความคิดเป็นคำพูด ถ้าหากไม่สามารถถ่ายทอดความคิดเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ก็ยากที่จะลดหรือแก้ปัญหาความขัดแย้ง(9) รู้จักพูดเพื่อหาข้อมูล ผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจ การได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากเท่าใด โอกาสที่จะตัดสินใจพลาดก็มีน้อยลง(10) รู้จักพูดเพื่อให้ข้อมูล มนุษย์เราคิดหรือตัดสินใจก็โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ การให้ข้อมูลมากขึ้นจะช่วยลดความขัดแย้งลงได้(11) รู้จักพูดเพื่อจูงใจหรือเกลี้ยกล่อม(12) รู้จักพูดเพื่อให้เกิดความสำนึก(13) ไม่พูดมาก(14) ไม่พูดวกไปวนมา(15) ไม่พูดแบบขวานผ่าซาก(16) แสดงสีหน้าและท่าทางเพื่อให้เกิดการนับถือและยอมรับในเวลาพูด(17) รู้จักพูดเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นและทัศนคติของบุคคล(18) รู้จักพูดเพื่อให้คู่ขัดแย้งเข้าใจจุดยืนของผู้พูด
2. รู้จักฟังในการจัดการความขัดแย้งนั้น ความสามารถในการฟังมีความสำคัญไม่น้อยกว่าความสามารในการพูดในการลดหรือแก้ปัญหาความขัดแย้งจำเป็นต้องเป็นผู้ฟังที่ดีและเป็นผู้มีความสามารถในการฟัง การรู้จักฟังนั้นควรจะมีหลักยึดดังต่อไปนี้
(1) วางตัวให้สบาย ไม่เคร่งเครียด ในขณะฟัง
(2) ฟังด้วยความตั้งใจ(3) มีความอดทนในการฟัง(4) ควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้ ในขณะที่ฟังคนอื่นพูดด้วยอารมณ์(5) พยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้พูด(6) ฟังเขาพูดให้จบเสียก่อน ก่อนที่จะรีบสรุปประเด็น(7) สนใจความต้องการของผู้พูด(8) สนใจเนื้อหาสาระมากกว่าตัวผู้พูด หลายครั้งคำพูดของคนมีอายุมากก็เชื่อไม่ได้(9) ฟังเพื่อเข้าใจความหมาย มิใช่นั่งฟังแล้วไม่ทราบเรื่อง(10) ฟังด้วยความสังเกต ดูสีหน้า ท่าทางของผู้พูดด้วย(11) ฟังโดยปราศจากอคติ(12) แสดงความสนใจผู้พูดและสิ่งที่เขาพูด(13) แสดงการยอมรับ และให้เกียรติผู้พูดตามสมควร(14) ใช้ภาษาท่าทาง หรือการเคลื่อนไหว เพื่อแสดงว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูด(15) ใช้คำถามหรือการสรุปประเด็น เพื่อแสดงว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูด(16) พัฒนาความสามารถในการฟังให้เหมือนกับการฉายเอกซ์เรย์ เอกซ์เรย์จะผ่านผิวหนัง เลือดและเนื้อแต่จะติดสิ่งที่ต้องการจะถ่าย การฟังก็เหมือนกันฟังให้ได้แก่นแท้ที่แท้จริง
3. การให้ข้อมูลย้อนกลับการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก (positive feedback) จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพิ่มความไว้วางใจระหว่างคู่ขัดแย้ง และช่วยสร้างพฤติกรรมที่ร่วมมือกันในการเจรจาต่อรอง คนส่วนใหญ่ต้องการจะได้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวก ในบางครั้งการให้ข้อมูลย้อนกลับในทางลบ (negative feedback ) ก็มีความจำเป็นเพราะจะช่วยในการแก้ไขพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง ถ้าหากผู้รับไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ข้อมูลย้อนกลับก็ไม่มีความหมาย4. ความสามารถในการเผชิญหน้ากับผู้อื่นความสามารถในการเผชิญหน้ากับผู้อื่นเป็นทักษะจำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการจัดการความขัดแย้งให้มีประสิทธิภาพ การเผชิญหน้าในที่นี้มิได้หมายความว่าจะต้องก้าวร้าว ใช้วาจาถากถางแดกดันหรือ แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นความสามารถที่จะเข้าใจประเด็นปัญหา และทราบสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การเผชิญหน้าตั้งอยู่บนฐานคติที่ว่าการทำประเด็นขัดแย้งให้กระจ่างเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง5. การมีความยืดหยุ่นทักษะที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการจัดการความขัดแย้งก็คือการมีความยืดหยุ่น ไม่ผูกติดหรือยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือความคิตใดความคิดหนึ่ง ความยืดหยุ่นจะช่วยให้คู่ขัดแย้งมีโอกาสแสวงหาทางเลือกหรือทางออกตลอดจนวิธีการที่จะแก้ประเด็นขัดแย้ง ความยืดหยุ่นจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายผ่อนปรนเข้าหากัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความร่วมมือในการคิดแก้ปัญหา มากกว่าที่จะแสดงความต้องการแพ้ ชนะ ความยืดหยุ่น ยังสามารถช่วยให้แต่ละฝ่ายมีความเชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาความแตกต่างที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะแตกต่างกันในวิธีการหรือเป้าหมาย6. การเป็นแหล่งวิชาการเนื่องจากไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการแก้ไขความขัดแย้ง ดังนั้นหน้าที่ของผู้บริหาร คือ การเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นการแก้ปัญหา มิใช่เพื่อมุ่งการแพ้ - ชนะ ผู้บริหารจำเป็นจะต้องยอมรับข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่ายแล้วพิจารณาจากข้อโต้แย้งนั้นว่าแต่ละฝ่ายมองความขัดแย้งในลักษณะใด การยอมรับข้อโต้แย้งมิได้หมายความว่าเราเห็นด้วยกับเขา แต่หมายความว่าเราพยายามเข้าใจความขัดแย้งจากจุดยืนหรือจากความเห็นของเขา ดังนั้น การเป็นแหล่งวิชาการจึงเป็นทักษะอย่างหนึ่งในการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาขัดแย้ง7. ทักษะในการมองเห็นภาพรวมของความขัดแย้งในการจัดการความขัดแย้งนั้นจำเป็นต้องมีทักษะอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการมองภาพรวมของความขัดแย้ง ความสามารถนี้จะช่วยให้มองเห็นความขัดแย้งได้ทะลุปรุโปร่ง และสามารถมองเห็นความขัดแย้งเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เช่น มองเห็นความต้องการของคน ความคาดหวังขององค์การ อารมณ์ของคู่กรณี สิ่งที่จะต้องตกลงกันสิ่งที่อาจประนีประนอมกันได้ เป็นต้น การเข้าใจความขัดแย้งจะทำให้ทราบว่าจะต้องจัดการกับทรัพยากรอะไร จะใช้ยุทธศาสตร์อะไร ตลอดจนจะใช้เวลาในการบริหารความขัดแย้งอย่างไร แม้ว่าจะเป็นการยากที่จะทำนายผลของความขัดแย้งได้ทุกด้าน แต่การใช้ปัญญาและทักษะในการบริหารความขัดแย้งก็อาจทำให้เกิดความพอใจแก่ผู้เกี่ยวข้องในความขัดแย้งได้
สรุป
ความขัดแย้งเป็นของธรรมชาติในสังคมปัจจุบัน ความขัดแย้งมีทั้งประโยชน์และโทษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและระดับของความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้งมีขั้นตอนและกระบวนการ แต่จำเป็นยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงผลที่จะตามมาของความขัดแย้ง ผู้บริหารจำเป็นจะต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการจัดการความขัดแย้ง เช่น การพูด การฟัง การให้ข้อมูลย้อนกลับ ความสามารถในการเผชิญหน้ากับผู้อื่น
ที่มาข้อมูล
หนังสือสารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554,85-91