ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ชื่อเรื่อง : | ขึ้นทางนี้ ลงทางนั้น |
ผู้แต่ง : | สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, ผู้แต่ง |
ประเภทของทรัพยากร : | สื่ออิเล็กทรอนิกส์ |
ขนาด : | 1 |
หมายเหตุทั่วไป : | ที่มา https://www.oic.go.th/web2017/iwebform_viewer.asp?i=%3A2111%2E5191470%3A112112127111211 |
Languages: | Thai |
หมายเหตุเนื้อหา : |
ื่องนี้ผู้ขอต้องการตรวจสอบข้อมูลการออกแบบทางขึ้นลงรถไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้มีความรู้สึกว่า
ต้องใช้พลังงานในการเดินไปถึงบันไดและเดินขึ้นหลายเหนื่อย แต่บางแห่งเชื่อมถึงหน้าประตูห้างเลย จึงขอดู แบบครับ นายวิศวะ มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหนังสือการออกแบบทางขึ้น ลงสถานีรถไฟฟ้า จ านวน ๔ รายการ คือ ๑) หนังสือกรมศิลปากร ที่ วธ...ลงวันที่... ๒) หนังสือบริษัท อ. ที่...ลงวันที่ ...๓) หนังสือบริษัท อ. ที่...ลงวันที่... และ ๔) หนังสือบริษัท ช. เลขที่...ลงวันที่...ทั้ง ๔ รายการ ขอพร้อมสิ่งที่ส่งมาด้วย หกเดือนต่อมากรมศิลปากรมีหนังสือแจ้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๑ และรายการที่ ๔ ให้ก็จบไป ส่วนรายการที่ ๒ และรายการที่ ๓ อยู่ระหว่างการค้นหาเนื่องจากย้ายอาคารสำนักงาน แต่เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย ที่ขอในรายการที่ ๔ เป็นแบบรูปรายการที่บริษัท ช. เสนอต่อกรมศิลปากร เอกสารนั้นมีงานศิลปกรรมเป็นงาน สถาปัตยกรรมงานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ถือเป็นงานมีลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยมีบริษัท ช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะอนุญาตให้ทำซ้ า ดัดแปลงหรือเผยแพร่ได้ กรมศิลปากรจึงไม่มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ทำสำเนาได้ นายวิศวะจึงมีหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ในการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร กรมศิลปากรมีหนังสือส่ง เอกสารไปประกอบการพิจารณาและชี้แจงว่า ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๑ และรายการที่ ๔ ให้แล้ว และ ต่อมาก็ได้เปิดเผยข้อมูลสิ่งที่ส่งมาด้วยในรายการที่ ๔ ที่ปฏิเสธตอนแรกให้เพิ่มเติมแล้วเนื่องจากบริษัท ช. แจ้งว่า บริษัทเป็นเพียงผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จึงให้ไป ขออนุญาตจากเจ้าของโครงการโดยตรง ซึ่ง รฟม. ไม่คัดค้านจึงได้เปิดเผยไป ส่วนข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๒ และ ๓ ได้มีหนังสือเร่งรัดพร้อมก าหนดระยะเวลาให้ค้นหาแล้ว แต่ยังไม่แจ้งว่าพบหรือไม่พบ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารทั้ง ๔ รายการ กรมศิลปากรได้เปิดเผยรายการที่ ๑ และรายการที่ ๔ แล้ว จึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัย ส่วนรายการที่ ๒ และรายการที่ ๓ ยังอยู่ระหว่างการค้นหา จึงไม่ใช่กรณีการปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ยังไม่ครบหลักเกณฑ์การใช้สิทธิอุทธรณ์ ตามมาตรา ๑๘ คณะกรรมการวินิจฉัย ฯ ไม่อาจรับเรื่องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยุติการพิจารณาอุทธรณ์นี้ และจ าหน่ายเรื่องออกจากสารบบอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัย ฯจะพิจารณาได้หน่วยงานต้องส่งข้อมูลข่าวสารที่ท่านปฏิเสธไป ไปให้ดูว่า จริง ๆ แล้วเปิดเผยได้หรือไม่ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หารือไปได้ครับ ที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ส านักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๘ www.oic.go.th (คำสั่ง ที่ สค ๙/๒๕๖๓) “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” |
การเชื่อมโยงสำเนาฉบับอิเล็กทรอนิกส์ : | https://www.oic.go.th/web2017/iwebform_viewer.asp?i=%3A2111%2E5191470%3A112112127111211 |