ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ชื่อเรื่อง : | ข้อมูลการรักษาพยาบาลของมารดา |
ผู้แต่ง : | สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, ผู้แต่ง |
ประเภทของทรัพยากร : | สื่ออิเล็กทรอนิกส์ |
ขนาด : | 1 |
Languages: | Thai |
หมายเหตุเนื้อหา : |
ตามหลักกฎหมาย บุคคลย่อมมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนเองได้ แต่ในกรณี
จะขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของคนอื่นซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จะทำได้แค่ไหน มาดูครับ นาย ก นำนาง ข ซึ่งเป็นมารดา เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล A ด้วยโรคเส้นเลือด สมองแตกและเลือดออกในสมอง ต่อมา นาง ข ได้เสียชีวิต นาย ก จึงมีหนังสือถึงโรงพยาบาล A เพื่อขอข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล จำนวน ๒ รายการ คือ ๑) เวชระเบียนของนาง ข ๒) ภาพบันทึกกล้องวงจรปิด ในวันที่มารดาเสียชีวิต เนื่องจากนาย ก กล่าวหาว่าแผนการรักษาพยาบาลของแพทย์เวรผิดปกติ มีระดับการให้ยา ในอัตราต่ำมาก และการตายของมารดาผิดธรรมชาติเพราะมีการถอดเครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาล A ปฏิเสธ การเปิดเผย โดยให้เหตุผลว่า ข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๑ การเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล โดยไม่สมควร ตามมาตรา ๑๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่วนข้อมูล ข่าวสารรายการที่ ๒ เครื่องบันทึกภาพมีระยะเวลาบันทึก ๒๒ วัน มีสภาพเก่าจึงเกิดข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ ไม่สามารถสำรองข้อมูลไว้ได้ นาย ก จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาการแพทย์และสาธารณสุข วินิจฉัย สรุปว่า ข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๑ เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้ถึงแก่กรรม แต่ทายาทโดยชอบธรรม ตามกฎหมายสามารถขอข้อมูลในส่วนนี้ได้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการรับเงินประกันชีวิตหรือที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตามมาตรา ๒๕ วรรคห้า “ให้บุคคลที่กำหนดในกฎกระทรวงมีสิทธิดำเนินการตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ และมาตรานี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้” ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่วนข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๒ โรงพยาบาล A แจ้งว่าไม่สามารถบันทึกภาพไว้ได้ เท่ากับไม่มีข้อมูลข่าวสาร รายการที่ ๒ ไม่ใช่การปฏิเสธการเปิดเผย จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ที่จะพิจารณาวินิจฉัย หากผู้อุทธรณ์ไม่เชื่อว่าหน่วยงานไม่มีข้อมูลข่าวสารดังกล่าว สามารถใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ ตามมาตรา ๑๓ ประกอบมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อให้ตรวจสอบความมีอยู่ของข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้ มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โทร ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ / ๐๙ ๒๒๕๐ ๐๕๘๙ (www.oic.go.th) (wattanapong.k@opm.go.th) คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาการแพทย์และสาธารณสุข (ที่ พส ๓/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คำดี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” |
การเชื่อมโยงสำเนาฉบับอิเล็กทรอนิกส์ : | https://www.oic.go.th/web2017/bookshell_consultations.htm?title=%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1&cid=40 |