Online
ชื่อเรื่อง : | การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ |
ผู้แต่ง : | สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, ผู้แต่ง |
ประเภทของทรัพยากร : | สื่ออิเล็กทรอนิกส์ |
หมายเหตุทั่วไป : | ที่มา: https://www.oic.go.th/web2017/iwebform_viewer.asp?i=51111%2E%3A231870%3A112112127111211 |
Languages: | Thai |
หมายเหตุเนื้อหา : |
เรื่องนี้เป็นการขอหารือ กรณีมีหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานรัฐ ขอข้อมูลส่วนบุคคล
จากหน่วยงานรัฐที่ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อน าไปประกอบการวางแผนการ ดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน กรณีนี้จะขัดกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ในส่วนของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ อย่างไร หน่วยงาน A ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ และข้อมูลของ ผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบเบี้ยหวัด บำเหน็จบ านาญ ได้ขอหารือ ๒ กรณี ดังนี้ ๑. หน่วยงาน B ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มี หนังสือขอให้หน่วยงาน A จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับเลขประจ าตัวประชาชน ชื่อ นามสกุล วัน เดือนปีเกิดของลูกจ้าง หน่วยงานรัฐเพื่อน าไปประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ๒. หน่วยงาน C ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบ เบี้ยหวัด บ าเหน็จบ านาญ เพื่อน าไปเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นในการจัดท าฐานข้อมูลผู้สูงอายุไทย และน าไปวางแผน การด าเนินงานด้านผู้สูงอายุโดยหน่วยงาน A หารือว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับหน่วยงาน B และ หน่วยงาน C ได้หรือไม่ อย่างไร คณะอนุกรรมการตอบข้อหารือต ามกฎหม ายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชก า ร ในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการพิจารณาแล้ว มีความเห็น ดังนี้ กรณีตามข้อ ๑ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับหน่วยงาน B ซึ่งเป็นนิติบุคคลเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนส ารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้นอาจไม่สมควร เนื่องจาก หน่วยงาน B สามารถประชาสัมพันธ์เชิญชวนลูกจ้างของรัฐโดยใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์แก่ผู้ที่สนใจผ่านหน่วยงานของรัฐ ในสังกัดให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปได้ ไม่จ าเป็นต้องน าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลจากหน่วยงาน A ที่ครอบครอง ไปเพื่อประชาสัมพันธ์โดยตรงกับลูกจ้างหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด กรณีตามข้อ ๒ หน่วยงาน C ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อน าไป เป็นฐานข้อมูลตั้งต้นในการจัดท าฐานข้อมูลผู้สูงอายุไทย และน าไปวางแผนการด าเนินงานด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็น การพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ อันเป็นการปฏิบัติตามอ านาจหน้าที่ ของหน่วยงาน C หน่วยงาน A จึงสามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหน่วยงาน C เพื่อประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยตรง การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจึงไม่เป็นการรุกล้ าสิทธิ ส่วนบุคคลโดยไม่สมควร อย่างไรก็ดี คณะอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า กรณีที่หน่วยงาน A จะจัดส่ง ข้อมูลหรืออนุญาตให้หน่วยงาน C เชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบควรท าข้อตกลงว่า หากหน่วยงาน C ได้ข้อมูล ไปแล้วจะจัดเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยค านึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และมีหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บ ขอบเขตและข้อจ ากัดในการเข้าถึง รวมทั้งรูปแบบของรายงานการใช้ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีข้อสงสัยการปฏิบัติและใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี โทร ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๘ www.oic.go.th ตอบข้อหารือในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ (ที่ นร ๐๑๐๘/๒๘๘๐ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑) นางสาววัชรา อ่อนละมุน นักประชาสัมพันธ์ช านาญการ ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร “ข้อมูลโปร่งใส ราชการไทยไร้ทุจริต” |
การเชื่อมโยงสำเนาฉบับอิเล็กทรอนิกส์ : | https://www.oic.go.th/web2017/iwebform_viewer.asp?i=51111%2E%3A231870%3A112112127111211 |